กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูน ในแต่ละปีที่ผ่านมามีกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานซึ่งมีแนวโน้มสูง และพบว่ากลุ่มเสี่ยงในวัยต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพพบว่า มีพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายไม่เหมาะสม รวมทั้งขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ไม่ได้ตระหนักและไม่ให้ความสนใจในการคัดกรองสุขภาพรวมถึงผลของการคัดกรอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูน จึงหาแนวทางเพื่อให้ประชาชนได้มีความเข้าใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพในลักษณะบูรณาการควบคู่กับกระบวนการคัดกรอง โดยการจัดทำนวัตกรรมสื่อที่ใช้ในการเตือนใจหรือเตือนสติผู้ป่วยเป็นรายกรณี โดยใช้นวัตกรรม "ตั๋วสุขภาพ" โครงการ ตั๋วสุขภาพ ตระหนักรู้ความดันโลหิต ทำนายเบาหวาน กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนอายุมากกว่า 35 ปี จำนวน 1,614 คน อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูน และอสม.ในพื้นที่ที่ทำการคัดกรองประชาชน ขั้นตอนการดำเนินงานโดยใช้นวัตกรรม "ตั๋วสุขภาพ" ในการคัดกรองมีการจัดกลุ่มตามความเสี่ยง ดังนี้ 1.สีแดง หมายถึง สงสัยป่วย (ระดับค่าความดันโลหิตสูงมากกว่า 160/100 ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 125) 2.สีเหลือง หมายถึง เสี่ยง (ระดับค่าความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 ระดับน้ำตาลในเลือด 100-125) 3.สีเขียว หมายถึง ปกติ (ระดับค่าความดันโลหิตน้อยกว่า 140/90 ระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100) ผลการดำเนินโครงการดังนี้ 1. อสม.ตำบลเขาปูนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการทุกคน 2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในตำบลเขาปูน อายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานโดย อสม. 3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทราบค่าระดับความดันโลหิตและค่าน้ำตาลในเลือดของตนเอง 4. กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ได้รับการคัดกรองสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีค่าระดับความดันโลหิตและค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ 5. กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงและสงสัยป่วยเบาหวาน ได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและเข้าสู่กระบวนการรักษา

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 อสม.มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80
0.00

 

2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานโดยอสม.
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80
0.00

 

3 เพื่อให้ประชาชนทราบค่าระดับความดันโลหิตและค่าน้ำตาลในเลือดของตนเอง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90
0.00

 

4 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ได้รับการคัดกรอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีค่าระดับความดันโลหิตและค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 60
0.00

 

5 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงและสงสัยป่วยเบาหวาน ได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและเข้าสู่กระบวนการรักษา
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1614 1614
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,614 1,614
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) อสม.มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ (2) ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานโดยอสม. (3) เพื่อให้ประชาชนทราบค่าระดับความดันโลหิตและค่าน้ำตาลในเลือดของตนเอง (4) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ได้รับการคัดกรอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีค่าระดับความดันโลหิตและค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (5) เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงและสงสัยป่วยเบาหวาน ได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและเข้าสู่กระบวนการรักษา

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ อสม. เรื่องเทคนิคการวัดความดันโลหิตที่บ้านและการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วในเวทีประชุมประจำเดือน อสม. (2) 2.กิจกรรมเชิงรุกในชุมชนโดยอสม. ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมาย 35 ปี ขึ้นไป (3) 3. กิจกรรม “ตั๋วสุขภาพ” กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองมีการจัดกลุ่มตามความเสี่ยง และแจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพผ่านตั๋วสุขภาพเป็นรายบุคคล

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh