กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมฟื้นฟูเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2562

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

หลังจากดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมการเฝ้าระวังและดูแลโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพ  ตลอดจน สามารถจัดการด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อทบทวนบทบาทและภารกิจของ อสม.ในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามสภาพปันหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงไป
ตัวชี้วัด : จำนวน.อสม. ที่เข้ารับการอบรม อย่างน้อยละ 100
1.00

 

2 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของ อสม.ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่
ตัวชี้วัด : อสมมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
1.00

 

3 เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : จำนวนและผลจากการจัดกิจกรรมและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 58 56
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 58 56
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ตามที่รัฐบาลได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลัก และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ บนหลักการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพตนเองและเพื่อนบ้าน ในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขหรือ อสม. เพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน มาเป็นระยะเวลาครบ 30 ปี ด้วยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกและศรัทธาในการพัฒนาอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพอย่างยั่งยืนที่แท้จริง กระทรวงสาธารณสุขได้มีการพัฒนาศักยภาพ อสม.อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งภาวะวิกฤติและภาวะปกติ ในหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์ได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข โดยมุ่งหวังว่าหาก อสม.ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นกลไกหลักสำหรับสร้างสังคมใหม่ที่มีคุณภาพ โดยเบนเข็มการพัฒนาอาสาสมัครจากวิถีการให้บริการที่ใช้อยู่ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ไปเป็นวิถีการพัฒนาโดยการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีกว่า ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ ๒ เทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ในทุกชุมชนให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก3อ 2ส.การให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขปี 2562 ขึ้น
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อทบทวนบทบาทและภารกิจของ อสม.ในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามสภาพปันหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงไป (2) เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของ อสม.ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่ (3) เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ดำเนินการพัฒนาศักยภาพอสม.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในภาวะเร่งด่วนและภาวะปกติ (2) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส (3) จัดกิจกรรมรณรงค์ด้านสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh