กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ2 กันยายน 2562
2
กันยายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้นให้กับแกนนำผู้สูงอายุ

2.ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ จำนวน 4 ครั้ง (2 เดือน/ครั้ง)

  • กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้นก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจร่างกายทั่วไป ประเมินสุขภาพเบื้องต้น เป็นต้น โดยเจ้าหน้าที่หน่วยพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำสุขภาพในหมู่บ้าน/ชุมชน

  • กิจกรรมคลายเครียดและสันทนาการ เช่น การเล่านิทาน การละเล่นพื้นบ้าน การทายปัญหา การเล่าเรื่องตลกขบขัน การเต้นรำประกอบดนตรี การเล่าเรื่องสู่กันฟัง เป็นต้น

  • การเสริมสร้างสุขภาพจิตให้เข้มแข็ง เช่น การนั่งสมาธิ เป็นต้น

  • กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ (ตามปัญหาสุขภาพและความต้องการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ)

3.กิจกรรมแกนนำผู้สูงอายุลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน/ติดเตียงในชุมชน “เพื่อนช่วยเพื่อน”

4.กิจกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (สมาร์ทโฟน) ในการสื่อสาร การรายงานกิจกรรม การแนะนำการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การคลายเครียด การถ่ายทอดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นต้น

5.แกนนำผู้สูงอายุถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน/ชุมชน อย่างน้อยคนละ 5 ราย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ

  • ตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้นให้กับแกนนำผู้สูงอายุก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 60 คน โดยได้ออกแบบสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วมอบรม  มีอายุระหว่าง 58 – ¬80 ปี เพศชาย 16 คน เพศหญิง 44 คน โรคประจำตัวที่พบ คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนที่ 2 ข้อมูลสุขภาพมีการชั่งน้ำหนัก การวัดส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย(BMI) ค่าความดันโลหิต อัตราการเต้นหัวใจ แกนนำผู้สูงอายุ ร้อยละ 90 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย ตามอัตภาพ จากการประเมินผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 44 คน ก่อนการอบรมน้ำหนักเฉลี่ย 59.28 กิโลกรัม หลังการอบรมน้ำหนักเฉลี่ย 58.68 กิโลกรัม น้ำหนักลดลงเฉลี่ย 0.91 กิโลกรัม เพศชาย จำนวน 16 คน ก่อนอบรมมีน้ำหนักเฉลี่ย 62.07 กิโลกรัม หลังอบรมมีน้ำหนักเฉลี่ย 60.72 กิโลกรัม น้ำหนักลดลงเฉลี่ย 1.35 กิโลกรัม ส่วนสูงเพศหญิงเฉลี่ย 151.84 เซนติเมตร เพศชายส่วนสูงเฉลี่ย 161.31 เซนติเมตร ก่อนการอบรมเพศหญิงค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 45.4 หลังการอบรมค่าดัชนี มวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 52.27 ก่อนและหลังการอบรมเพศชายค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 56.25 ความดันโลหิต ผู้ร่วมอบรม 60 คน อยู่ในระดับปกติและเริ่มสูงร้อยละ 48.33 อยู่ในระดับสูงและสูงมาก 51.67 เนื่องจากมีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อัตราการเต้นของหัวใจปกติ จำนวน 58 คน ระดับผิดปกติจำนวน 2 คน เนื่องจากมีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจ

  • อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (สมาร์ทโฟน) ในการสื่อสาร การรายงานกิจกรรม การแนะนำการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การคลายเครียด จากการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินก่อน – หลังอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ก่อนการอบรมเพียง ร้อยละ 38.33 และ ผลการประเมินหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 88.33 และสามารถบอกถึงประโยชน์และความสำคัญการใช้สมาร์ทโฟน เพื่อติดต่อสื่อสารได้อย่างเหมาะสม นำแนวทางการปฏิบัติตนการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

  • อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ จากการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินก่อน – หลังอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ก่อนการอบรมเพียงร้อยละ 63.33 และผลการประเมินหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัย สามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกี่ยวกับอาการเบื้องต้นของโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

  • อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3 การดูแลสุขภาพช่องปาก สุขอนามัยในผู้สูงอายุ การป้องกันอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ การใช้ยาในผู้สูงอายุ จากการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินก่อน – หลังอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ก่อนการอบรมเพียงร้อยละ 75 และผลการประเมินหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 93.33 ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก สุขอนามัย และการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีมากยิ่งขึ้น

  • อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ ครั้งที่ 4 การส่งเสริมสุขภาพด้านอารมณ์ความเครียดการผ่อนคลายความเครียดและสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ จากการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินก่อน – หลังอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ก่อนการอบรมเพียงร้อยละ 73.33 และผลการประเมินหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 100 และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการความเครียดที่เหมาะสมและเพียงพอ ส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดีและสุขภาพกายที่ปลอดโรค