กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามและสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบล LTC และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัดผ่านกลไกพี่เลี้ยง 3 กองทุน จังหวัดสงขลา ปี2563

ประเมินผลและติดตามกองทุนฯ อบต.ปริก โดยนายณัฎฐเกียรติ ชำนิธุระการและทีมพี่เลี้ยง9 มิถุนายน 2563
9
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ธนกฤต​
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประเมินติดตามกองทุน LTC และกองทุนตำบล  โดยการสัมภาษณ์สอบถาม ตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามรอยการบันทึกระบบแผนงานโครงการ ระบบการเงิน ใน https://localfund.happynetwork.org)แต่ละกองทุน และบันทึกผลการประเมิน โดยมีขั้นตอนดังนี้ - ประชุมพิจารณารูปแบบการเยี่ยมติดตามที่เหมาะสมกับสภาวะเหตุการณ์ปัจจุบัน - ประสาน สปสช.เขตผ่านพี่เลี้ยงจังหวัดสงขลา ออกหนังแจ้งเชิญพี่เลี้ยงกองทุนอำเภอและแจ้งแผนกำหนดการประเมินแก่ทุกกองทุนโดยเชิญผู้รับผิดชอบงานกองทุนร่วมรับการประเมิน ตามแบบประเมินกองทุนฯและวิธีการประเมิน - กองทุนเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อการตรวจสอบกิจกรรมแผนงาน โครงการ การเงินในระบบออนไลน์ - เยี่ยมติดตาม ตามกำหนดการ - Exit ผลการเยี่ยมติดตามพร้อมข้อเสนอแนะ - แจ้งการเยี่ยมติดตามครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการเยี่ยมติดตามกองทุน พบว่า 1. มีผลการเยี่ยมประเมินกองทุน จำนวน    90  คะแนน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 90 2. มีผลการเยี่ยมประเมินกองทุน จำนวน    4    คะแนน(คะแนนเต็ม 50 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 8 ข้อเสนอผู้เยี่ยม 1. สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลการดำเนินการภาพรวม การเบิกจ่ายจริงไม่เป็นไปตามแผนสุขภาพ อาจเร่งพิจารณาและเบิกจ่ายงบประมาณช่วงปลายปีงบประมาณ 2563 2. กองทุน LTC ยังไม่มีการดำเนินการ กรรมการควรร่วมกันพิจารณาให้การดำเนินการ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ 3. ให้มีการแลกเปลี่ยนการทำงานระหว่างกองทุนที่สามารถดำเนินการได้ดีในพื้นที่อำเภอสะเดา นำมาประยุกต์ใช้ในกองทุนของตนเอง 4. การตรวจสอบเงิน ควรมีการตรวจสอบและบันทึกทุกไตรมาส และ ปรับสมุดบัญชีให้เป็นปัจจุบัน และปิดกุญแจโครงการที่ดำเนินการสรุปผลเสร็จสิ้นแล้ว 5. การสรุปการเงินรายไตรมาส ยังไม่ได้มีการสรุปเป็นเอกสารเสนอประธานทราบ มีเพียงในระบบการเงินออนไลน์ของกองทุน 6. โครงการเคลื่อนไหวออกแรงทางกาย โครงการส่งเสริมความั่นคงทางอาหารโภชนาการในพื้นที่ ยังมีน้อย ควรมีการกระตุ้นให้มีการพัฒนาโครงการให้มากขึ้น 7. โครงการ NCD ส่วนใหญ่เบิกจายแล้ว แต่ การดำเนินการไม่เป็นไปตามแผน เนื่องจาก COVID แต่ควรเร่งดำเนินการหลังจากสถานการณ์ดีขึ้น 8. การทำแผนสุขภาพกองทุนยังไม่ครบถ้วนเช่น ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ชัดเจน 9. ปัญเรื่องการให้ความเห็นของท้องถิ่นอำเภอ ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของการดำเนินการงานกองทุนตำบล เช่น ทำโครงการมาเยอะเกินไป