กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามและสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบล LTC และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัดผ่านกลไกพี่เลี้ยง 3 กองทุน จังหวัดสงขลา ปี2563

ประเมินผลและติดตามกองทุน ทต.ทุ่งตำเสา โดยนาง ดวงดาว อุปสิทธิ์ และทีมพี่เลี้ยง13 มิถุนายน 2563
13
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ดวงดาว อุปสิทธิ์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประเมินติดตามกองทุน LTC และกองทุนตำบล โดยการสัมภาษณ์สอบถาม ตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามรอยการบันทึกระบบแผนงานโครงการ ระบบการเงิน ใน https://localfund.happynetwork.org)แต่ละกองทุน และบันทึกผลการประเมิน โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ประชุมพิจารณารูปแบบการเยี่ยมติดตามที่เหมาะสมกับสภาวะเหตุการณ์ปัจจุบัน

  • ประสาน สปสช.เขตผ่านพี่เลี้ยงจังหวัดสงขลา ออกหนังแจ้งเชิญพี่เลี้ยงกองทุนอำเภอและแจ้งแผนกำหนดการประเมินแก่ทุกกองทุนโดยเชิญผู้รับผิดชอบงานกองทุนร่วมรับการประเมิน ตามแบบประเมินกองทุนฯและวิธีการประเมิน

  • กองทุนเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อการตรวจสอบกิจกรรมแผนงาน โครงการ การเงินในระบบออนไลน์

  • เยี่ยมติดตาม ตามกำหนดการ

  • Exit ผลการเยี่ยมติดตามพร้อมข้อเสนอแนะ

  • แจ้งการเยี่ยมติดตามครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประเมินการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา โดย พี่เลี้ยงกองทุนตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผลการประเมินกองทุน กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ด้านที่ 1 สรุปผลการดำเนินงานกองทุนปีที่ผ่านมา ปี 2562

1.1 ความครบถ้วน ถูกต้องของเอกสารการเบิกจ่าย ประเมินได้ 10 คะแนน

1.2 ความครบถ้วนของเอกสารผลการดำเนินงาน ประเมินได้ 10 คะแนน

1.3 การส่งรายงานการเงิน และรายงานกิจกรรม ผ่านระบบโปรแกรม ประเมินได้ 10 คะแนน

ด้านที่ 2 การดำเนินงานกองทุน ปีปัจจุบัน ปี 2563

2.1 การแต่งตั้งกรรมการกองทุน ประเมินได้คะแนน 5 คะแนน

2.2 การตรวจสอบเอกสาร การจัดทำแผนการเงินประจำปี และโครงการบริหารกองทุน ได้คะแนน 5 คะแนน

2.3 ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน การสมทบเงินของ อปท.ให้กับกองทุน

ได้คะแนน 0 คะแนนไม่มีรายงานตามที่กำหนด

2.4 ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน

  • เอกสารสรุปการประชุมกรรมการของกองทุน ต้องมีวาระพิจารณาแผนงาน/โครงการ และผลการพิจารณา ให้คะแนน 10 คะแนน มีการประชุมกรรมการกองทุนเพื่ออนุมัติแผนงาน โครงการ กิจกรรม
    เรียบร้อยแล้ว

2.5 ตรวจสอบหลักฐาน

  • แผนสุขภาพตำบลในประเด็นอาหารและโภชนาการ การเพิ่มการเคลื่อนไหวทางกาย ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ( สุรา/ยาสูบ/สารเสพติด ) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แผนใดแผนหนึ่ง )
    ได้คะแนน 3 คะแนน มีแผนสุขภาพตำบลและมีการเบิกจ่ายเงินแล้ว ตั้งแต่ร้อยละ 1-25.99

    2.6 ตรวจสอบเอกสาร

  • มีโครงการประเด็นอาหารและ โภชนาการ,การเพิ่มการเคลื่อนไหวทาง กาย ,ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สุรา ยาสูบ และสารเสพติด),กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ เสี่ยง ได้คะแนน 15 คะแนน

2.7 ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน

  • เอกสารโครงการโรคเรื้อรัง NCD (เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) และ พัฒนาการเด็ก ที่ได้รับการอนุมัติจาก กรรมการกองทุน - ใบฎีกาเบิกจ่ายเงินของกองทุน สนับสนุนโครงการโรคเรื้อรัง NCD (เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) และ พัฒนาการเด็ก ที่ได้รับการอนุมัติจาก กรรมการกองทุน ได้คะแนน 0 คะแนน ไมีมีโครงการโรคเรื้อรัง

รวมคะแนนได้รับ68 คะแนน

ประเมินกองทุน LTC

  1. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
  • การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ LTC ครบองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ จำนวน 10 คน ลงนาม
    ประกาศโดย ประธานคณะกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ถูกต้อง ครบถ้วน ผลการประเมิน ได้คะแนน10 คะแนน มีเอกสารการแต่งตั้งคณะกรรมการ ครบองค์ประกอบ และมีการลงนามประกาศถูกต้อง

    2.ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน -ผลการประเมิน ได้ 6 คะแนน มีการประชุมพิจารณาอนุมัติ careplan หลังจากได้รับงบประมาณ ไม่เกิน 90-120 วัน

3.ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน - มีการโอนงบประมาณให้หน่วย จัดบริการ(ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตหรือ รพสต.หรือ รพ.หรืออื่นๆ) ผลการประเมิน ได้ 15 คะแนน มีการโอนงบประมาณให้หน่วยจัดบริการ ไม่เกิน 15 วัน

4.ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
- มีการบันทึก ADL เมื่อครบ 9 เดือน ผลการประเมิน ได้ 10 คะแนน มีการบันทึก ADL เมื่อครบ 9 เดือน รวมคะแนนประเมิน ได้รับ 41 คะแนน


ข้อเสนอแนะของงาน LTC (๑) ในการประเมินติดตามการดำเนินงานของ สปสช. รอบการประเมินควรเริ่มนับหลังจากมีการดำเนินงาน หรือรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา เนื่องจากกองทุนบางแห่งเริ่มดำเนินงานปลายปี ยังไม่ครบรอบที่จะขอรับงบประมาณในปีถัดไปได้
(๒) สปสช.ควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้ชัดเจนกว่านี้ เนื่องจากหน่วยจัดบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีปัญหาเรื่องระเบียบการเบิกจ่าย ทำให้การดำเนินโครงการทำได้ล่าช้า
(๓) สปสช.ควรทำแบบฟอร์มการรายงานผลการจัดบริการของหน่วยจัดบริการให้เป็นทิศทางเดียวกันเพื่อความสะดวกในการติดตามการดำเนินงานของกองทุนตำบล ข้อเสนอแนะของการดำเนินกองทุน (๑) สปสช.ควรชี้แจงหรือขอความร่วมมือ สสจ. ให้ขับเคลื่อนหน่วยบริการสาธารณสุขในสังกัดจัดกิจกรรมหรือจัดบริการสาธารณสุขตามตัวชี้วัดของ สปสช.กำหนด
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน (๑) CM/CG มีความเชื่อว่า ผู้ดูแลควรมีความเชื่อหรือศาสนาเดียวกับผู้ป่วย ทำให้การจัดบริการมีความยุ่งยาก และการจัดบริการไม่ทั่วถึง