กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ติดตามนิเทศงานกองทุนสุขภาพระดับตำบลหรือพื้นที่ อำเภอสะเดา โดย นายณัฎฐเกียรติ ชำนิธุระการ, นส.กรอุไร ใบตาเย็บ และนายธนกฤต นุ้ยกูลวงศ์(ทีมพี่เลี้ยงอำเภอ)

กิจกรรม : ติดตามนิเทศงานกองทุนสุขภาพระดับตำบลหรือพื้นที่ อำเภอสะเดา โดย นายณัฎฐเกียรติ ชำนิธุระการ, นส.กรอุไร ใบตาเย็บ และนายธนกฤต นุ้ยกูลวงศ์(ทีมพี่เลี้ยงอำเภอ)
วันที่ 14/08/2020 - 14/08/2020
งบประมาณที่ตั้งไว้ 4,320.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 30 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบงานกองทุน จำนวน 12 กองทุนและผู้สนใจ ทีมพี่เลี้ยงจำนวน 3 คน
รายละเอียดกิจกรรม :
สรุปผลการประเมิน การบันทึกข้อมูล การวางแผนการทำงานปี 2564 สรุปผลการติดตามดังต่อไปนี้
1. สรุปผลการติดตามนิเทศกองทุนสุขภาพฯ อ.สะเดา รอบที่ 1/2563
- กองทุนฯ ที่มีผลการดำเนินงานบริหารกงอทุนดีเด่นระดับอำเภอสะเดา ปี 2563 คือ 1)กองทุนเทศบาลตำบลปริก 2)กองทุนเทศบาลตำบลสำนักขาม 3)กองทุน อบต.ปริก
โดยภาพรวมอำเภอสะเดาการบริหารกองทุนฯ อำเภอสะเดา ที่มีคะแนนผลการประเมนมากกว่า ร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 75 (จำนวน 9 จาก 12 กองทุน) อยู่ในระดับปานกลาง ต้องมีการเร่งพัฒนาคุณภาพกองทุนให้ดีมากขึ้นในปี 2564
การดำเนินงานกองทุน LTC มีการดำเนินการเข้ารูปแบบ LTC แล้วจำนวน 4 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ซึ่งอยู่ในระดับที่ต้องเร่งพัฒนาและส่งเสริมให้มีการเข้าร่วมมากขึ้น ในปี 2564 โดยส่วนนี้ ทางระบบสาธารณสุขโดยผู้บริหารของอำเภอสะเดา(สสอ.สะเดา, ผอ.สะเดา, ผอ.ปาดังเบซาร์) กำชับนโยบายการประเมิน ADL และ Care plan ให้ครอบคบบุมทุกตำบลใน ปี 2564 โดยไม่ต้องรอการสมัครเข้าร่วม LTC ของ สปสช. ซึ่งจะเป็นการพัฒนาองค์ประกอบของ LTC ให้เข้มแข็งมากขึ้นและเพิ่มโอกาสให้มีการร่วมกัน สมัครเข้า LTC มากขึ้น
กองทุนที่มีผลการดำเนินการดี ด้าน LTC คือ
1 กองทุนเทศบาลตำบลปริก
2 กองทุนเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
3 กองทุนอบต. สำนักแต้ว
ส่วนกองไทุนที่เหลือยังไม่ได้ดำเนินการเป็นรูปธรรม และมีการเริ่มดำเนินการบ้างแล้วในปี 62-63 และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 64 แต่อาจจะไม่ครบทั้ง 12 กองทุน

2. ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการดำเนินงานในปี 2563
- ปัญหาสถานการณ์ COVID-19 มีผลต่อการดำเนินงานหลายโครงการ กระทบการเบิกจ่าย และผลการใช้จ่ายประจำปีเกือยทุกกองทุน
- โครงการหลายโครงการดำเนินการไม่ได้ ช่วง COVID มาดำเนินการปลายปีงบ ไม่สามทารถดำเนินการได้ทันเวลา โดยให้ข้อแสนอแนะดังนี้
* โครงการที่ผ่านมติเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกงอทุนชุดใหญ่ ให้ขยายเวลาดำเนินการได้ แต่ไม่ตวรเกิน 31 ธันวาคม 63
*โครงการที่ไม่มีเหตผลเหมาะสมจำเป็นต่อการขยายโครงการ ซึ่งสามารถทำได้ในช่วง COVID สามารถพิจารณาคืนเงินโครงการมายังกองทุนกอ่นและให้เข้าแผนในปี 2564 แทนเพื่อให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงาน
- การใช้โปรแกรมบันทึกโครงการสำหรับกลุ่มประชาชน มีความยุ่งยากไม่สามารถทำได้ ยังคงใช้ระบบเดิมคือกระดาษและ จนท.กองทุนยังเป็นผู้ช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้
- ความไม่มั่นใจในการใช้เงินในบางกิจกรรม ซึ่งยังมีความเข้าใจหรือข้อกังวลไม่ตรงกัน เช่น เงินสำหรับโครงการ ขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ ซึ่งบางกองทุนไม่กล้าดำเนินการ,
- การพัฒนาโครงการและการสรุป จนถึงการปิดโครงการของกองทุนส่วนใหญ่ในอำเภอสะเดา ไม่ดำเนินการ เนื่องจาก เอกสารมาก เป็นภาระงานมาก ต้องใช้เวลา แต่ยังมีการสรุปเป็นรูปเล่มให้เห็นในทุกกองทุน และไม่มีการปิดโครงการในระบบ
- มีบาง กองทุนร้อยละ 33.33 ของกองทุน มีการปรับเปลี่ยนผู้ดำเนินงาน ทำงานการดำเนินงานกองทุนหยุดชะงัก และไม่มีเงินออกไปพัฒนาโครงการ เช่น การไปรับการเกณฑ์ทหาร, การย้ายสถานที่ทำงานของบุคคลากร
- ปัญหาการสมทบเงินในปี 64 ส่วใหญ่คาดกว่าจะสมทบช้า เนื่องจาก ต้องรอสถานะทางการเงินของท้องถิ่นว่ารายรับเพียงพอมที่เข้าสมทบกองทุนได้หรือไม่เนื่องจาก ผลกระทบทางฌสณษบกิจของ COVID
- เงิน 15% ประเภท 4 เอาเข้าจริงไม่เพียงพอต่อการทำงานของกองทุน เนื่องจากกองทุนเล็กๆ งบส่วนนี้จะน้อย เพียงประชุมก็ไม่มีเงินเหลือไปทำอย่างอื่น
- หลักเกณฑ์หรือระเบียบกองทุนมีการปรับเปลี่ยนบ่อย จนกรรมการกองทุนที่ไม่มช่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ปรับตัวตามไม่ทัน
-กองทุนไม่บันทึกเงินอุดหนุนน มีเพียง 1 กองำทุน คือกงอทุน อบต.สำนักแต้ว รับทราบและจะไปดำเนินการให้แล้วเสร็จ
กองทุนที่ไม่บันทึกดอกเยบี้ยในระบบ คือกองทุนเทศบาลตำบลปริก รับทราบแล้วจะไปดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในปี 2564
- กองทุนเสนอให้เขต เพิ่มงบประมาณ สัดส่วนในประเภท 4 ให้มากขึ้น
- หากไม่เพิ่มเงินประเภท 4 ก็มอบให้เขตเป็นผู้พัฒนาประจำปี นอกสถานที่ ดยเขตเป็นเจ้าภาพจังหวัด โยดการคัดเลือกจากทุกกองทุนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่ เพื่อการพัฒฯาศักยภาพตนเอง
-กองทุนมีความกังวลใจการรับเงินเฉลี่ยเพิ่มที่ทางเขต จะจัดสรรให้ ในปี 64 ตามแบ่งตามประเภท ผลการเบิกจ่ายมากกว่า 70% ซึ่งจริงๆแล้ว เป็นการเพิ่มการทำงานทั้งที่เงินในระบบมีมากเพียงพออยู่แล้ว

2. ไทม์ไลน์การทำแผนงานกองทุน ปี 2564 ให้ดำเนินการตั้งแต่เริ่มประชุมพิจารณาอนุมัติแผนงานโครงการ, การบันท฿กแผนงาน, แผนเงิน, อนุมัติงบบริหารกองทุนและงบอุบัติภัยให้เรียบร้อย หลังจากนั้นในจัดทำแผนเงิน และพัฒนาโครงการในลำดับต่อไป เพื่อการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ให้แนวทางการจัดสรรเฉลี่ยงบประมาณเพิ่มใน ปี 2564 โดยจัดสรรเงินแก่กองทุน ที่เงินสะสมเกิน 2 เท่า และไม่ปรับระบบบัญชีให้ถูกต้อง
และนำเงินงดจัดสรร ปรับเกลี่ยเพิ่มให้กองทุนฯ เบิกเกิน 70% ของรายรับทั้งหมด
โดยปรับเกลี่ยเพิ่มเงิน แก่
- กองทุนฯ ใช้เงิน 70-79% จัดสรรเพิ่ม 45,000฿
- กองทุน ใช้เงิน 80-89^ จัดสรรเงินเพิ่ม 67,500฿
- กองทุนใช้เงิน 90 ขึ้นไป จัดสรรเงินเพิ่ม 90,000฿