กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาของทุกคนในชุมชนซึ่งทุกคนเป็นผู้ผลิตขึ้นมา และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆทำให้สุขภาพอนามัยของคนในชุมชนไม่ดี ชุมชนบ้านท่าแลหลามีประชากรจำนวน 1,766 คน 488 ครัวเรือน ทำให้มีปริมาณขยะที่เกิดจากการทิ้งและการคัดแยกไม่ถูกวิธีมีจำนวนมาก บริเวณข้างถนนมีการทิ้งขยะกลาดเกลื่อน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาสุขอนามัยกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น ปัญหาของกลิ่น ปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อลดอัตราป่วยของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับโรคติดต่อในท้องถิ่นที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค 2.) เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนมีการจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี และเป็นครัวเรือนต้นแบบให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนได้ ผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน

ดำเนินการคัดเลือกแกนนำในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 20 คน มีการจัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน ประชุมค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน หาแนวทางแก้ไข และติดตามผลการดำเนินงาน จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งการจัดตั้งแกนนำดังกล่าวให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน และเป็นครัวเรือนต้นแบบที่จัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs แก่กลุ่มครัวเรือนแกนนำในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายแกนนำครัวเรือน จำนวน 50 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ พบว่า ก่อนได้รับความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมไม่ผ่านเกณฑ์ (คะแนน 0-5) ร้อยละ 16 ผ่านเกณฑ์พอใช้ (คะแนน 6-7) ร้อยละ 52 และผ่านเกณฑ์ดี (คะแนน 8-10) ร้อยละ 32 หลังจากดำเนินการอบรมให้ความรู้ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 8-10) ร้อยละ 88 และอยู่ในเกณฑ์พอใช้(คะแนน 6-8) ร้อยละ 12 ซึ่งประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

แกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชนรณรงค์ทำงานแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่สาธารณะในชุมชน พร้อมทั้งติดป้ายรณรงค์เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี และติดป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณจุดที่ผู้คนสามารถเห็น ได้ง่าย สถานที่ราชการหรือที่สาธารณะในชุมชน จำนวน 5 จุด มีครัวเรือนเข้าร่วมประกวดครัวเรือนตัวอย่างการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล จำนวน 50 ครัวเรือน ผลการประเมิน พบว่า

ครั้งที่ 1

  • ผ่านเกณฑ์  จำนวน 30 ครัวเรือน    คิดเป็นร้อยละ 60
  • ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 20 ครัวเรือน    คิดเป็นร้อยละ 40

ครั้งที่ 2

  • ผ่านเกณฑ์  จำนวน 50 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 จะเห็นได้ว่า ครัวเรือนทั้งหมดผ่านเกณฑ์ครัวเรือนตัวอย่างร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด


กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ จำนวน 2 ครั้ง ติดตามครัวเรือนแกนนำ จำนวน 50 ครัวเรือน เกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1

  • ด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 84.4
  • ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย  คิดเป็นร้อยละ 81.2
  • ด้านการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 83.6

ครั้งที่ 2

  • ด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 89.2
  • ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย  คิดเป็นร้อยละ 87.2
  • ด้านการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 88.8


จะเห็นได้ว่าครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น สามารถจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี และไม่พบอัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  1. ครัวเรือนในชุมชนไม่สามารถจัดทำถังขยะอินทรีย์/ขยะเปียกครัวเรือนได้ครบตามเป้าหมาย เนื่องจากครัวเรือนส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น
  2. ครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชน ยังไม่มีระบบการจัดการขยะที่ถูกต้อง
เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ