กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง ในตำบลปันแต

ตรวจสารเคมีตกค้างในปะชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป1 สิงหาคม 2563
1
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลปันแต
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตรวจสารเคมีตกค้างในปะชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ทั้งสิ้นจำนวน ๒๙๙ คน มีผลดังนี้   ๑.๑ เจาะเลือดประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ 2.01 ปลอดภัย ร้อยละ 10.70 เสี่ยง ร้อยละ 41.14 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 46.15   ๑.๒ กรณีพบว่า เสี่ยงและไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๐ ปลอดภัย ร้อยละ 29.63 เสี่ยง ร้อยละ 44.44 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 25.93   ๑.๓ กลุ่มเสี่ยงที่มาเจาะเลือดครั้งที่ ๒ มีผลเลือดเท่าเดิม ร้อยละ 44.44 ดีขึ้น ร้อยละ 44.44 แย่ลง ร้อยละ 11.12 ๒.เกษตรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกราย โดยได้ทำการคัดกรองตามแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นบก.1 เพื่อทราบถึงพฤติกรรมการใช้สารเคมีของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังให้ความรู้โดยใช้สื่อจากแผ่นพับการล้างผักที่ถูกวิธี และแผ่นพับการใช้สมุนไพรล้างพิษ เจาะจงเป็นรายบุคคล ผู้ที่มีระดับสารเคมีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตจะจ่ายยาผงรางจืดชงรับประทาน ๑ เดือน แล้วนัดมาเจาะเลือดซ้ำครั้งที่ ๒ เพื่อเฝ้าระวังต่อไป           จะเห็นได้ว่า ทางโครงการ จากการเจาะเลือดครั้งที่ ๑ ผลเลือดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยค่อนข้างสูง เมื่อนัดเจาะครั้งที่ ๒ กลุ่มนี้มารับบริการน้อย แต่ผลเลือดส่วนใหญ่กลุ่มนี้ยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ซึ่งผลเลือดส่วนใหญ่จะเท่าเดิมไม่เปลี่ยน บางส่วนจะดีขึ้นมาอยู่ในช่วงปลอดภัยแล้ว ก็ยังจำเป็นที่ยังต้องมีการเฝ้าระวังประชาชนเกี่ยวการสารเคมีตกค้างต่อไป