กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง ปี 2564 จังหวัดพัทลุง

สนับสนุนการเขียนโครงการ / การพัฒนาโครงการแบบออนไลน์ ครั้งที่ 1 ของกองทุน ทต.หานโพธิ์ โดย นายประเทือง อมรวิริยะชัย30 ธันวาคม 2563
30
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย เทือง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพในการจัดทำโครงการด้านสุขภาพ สำหรับผู้ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนสุขภาพตำบล วันที่ 30 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านหานโพธิ์

-เปิดการอบรม โดย ผอ.รพ.สต.หานโพธิ์ (กรรมการกองทุนฯ) กล่าวที่มาของการอบรมในครั้งนี้ แนะนำวิทยากร(พี่เลี้ยง)

-นายประเทือง อมรวิริยะชัย บรรยายการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ต้นไม้ปัญหา ตามหลักการและยกตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาเรื่องขยะ โดยต้องบอกถึงสถานการณ์ของปัญหาขยะในตำบลของเรา ว่าเป็นอย่างไร นำข้อมูลย้อนหลังมาแสดงให้เห็นถึงปัญหา เช่น ปริมาณขยะของตำบลกี่ตันต่อวัน ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ ฯ และวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา กรอบแนวคิดปัจจัยกําหนดสุขภาพ คือ

1.ปัจจัยทีเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล

2.ปัจจัยทีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม

3.ปัจจัยเกี่ยวกับระบบและกลไก

และบรรยายหลักการตามแนวทาง ออตตาวา ชาร์เตอร์ 5ข้อ คือ

  1. การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง
    2 การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
    3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อ
    4 การพัฒนานโยบายสาธารณะ
    5 การปรับระบบ/กลไก
    หลังจากกนั้น มีการแบ่งกลุ่ม เป็น 2 กลุ่ม ฝึกปฏิบัติการตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ต้นไม้ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา ตามออตตาวา ชาร์เตอร์ และให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ และวิทยากรพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเพิ่มเติม

-นายประเทือง อมรวิริยะชัย วิทยากรพี่เลี้ยง ได้ติดตามแผนสุขภาพบนเวปไซต์ และแนวทางการเขียนและพัฒนาโครงการบนเวปไซต์แบบออนไลน์ www.localfund.happynetwork.org และได้คุยถึงเรื่องตัวชี้วัดผลงานที่ทาง สปสช.เขต 12 ได้ทำร่างการปรับเกลี่ยเงินกองทุนตำบล ปี 2565 จำนวน 67,500 บาท โดยมีตัวชี้วัด 9 ตัว คือ

  1. ศพด.มีโครงการแก้ภาวะโภชนาการและเพิ่มพัฒนาการเด็ก จำนวน 200 point
  2. ทำแผนสุขภาพ แผนบุหรี่-โครงการบุหรี่ จำนวน 200 point
  3. ทำแผนสุขภาพโรคเรื้อรัง-โครงการโรคเรื้อรัง จำนวน 200 point
  4. ทำแผนสุขภาพอาหารและโภชนาการ จำนวน 100 point
  5. ทำแผนสุขภาพแรงงานนอกระบบ -โครงการแรงงานนอกระบบ จำนวน 200 point
  6. ท้องถิ่น สมทบเงินภายใน 31 มีนาคม 2564 จำนวน 100 point
    7.กองทุนเบิกจ่ายในไตรมาส 2 (31 มีค.64) 60 % จำนวน 200 point

8.กองทุนเบิกจ่ายโอนเงิน LTC ภสยใน 45 วัน นับจากรับเงิน จำนวน 200 point
9.กองทุนเบิกจ่ายมากกว่า 80% ของรายรับทั้งหมด (30 กย.64) จำนวน 200 point

-นายสมนึก นุ่นด้วง หัวหน้าทีมสนับสนุนพี่เลี้ยง ได้ เพิ่มเติมการพัฒนาโครงการบนเวปไซต์
-นางสาวจันทราวรรณ แก้วดุก ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน จนท.จากกองทุนสุขภาพตำบลหานโพธิ์ ได้ เพิ่มเติมในการจัดทำโครงการขอสนับสนุนเงินจากกองทุน โดยให้รีบดำเนินการส่งโครงการภายในเดือนมกราคม 2564 และนำเข้าที่ประชุมของคณะอนุกรรมการพิจารณาก่อน หลังจากนั้นมีการปรับปรุงแก้ไขโครงการ เสร็จ พร้อมเสนอคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติต่อไป และจะดำเนินการโอนเงิน ภายในเดือน มีนาคม 2564

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน ประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มผู้สูงอายุ/ ตัวแทนกลุ่ม อสม. /ตัวแทนกลุ่ม รพ.สต./จนท.กองทุน และทีมพี่เลี้ยง 2 คน โดยผู้เข้าประชุม ได้เรียนรู้การวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ต้นไม้ปัญหาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา สถานการณ์ปัญหา และผลกระทบของปัญหา และเรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหาตามแนวทางออตตาวา ชาร์เตอร์ ซึ่งมีการฝึกปฏิบัติจริงนำปัญหาของพื้นที่มาวิเคราะห์โดยแบ่งกลุ่ม และนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรู้การนำโครงการมาพัฒนาบนเวปไซต์ และได้นัดพัฒนาโครงการอีกครั้งในเดือนมกราคม ประมาณวันที่ 15 มกราคม 2564