กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบ

นางสุนันทา แสงอรุณ
นางสาวจันจิรา ชอบหวาน

หมู่ที่ 1 - 7 ตำบลทำนบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ขาดความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

70.00
2 การเกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง

 

5.00

ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาดการสื่อสารและการคมนาคมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมากจะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อแต่ในปัจจุบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคมสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเช่น พฤติกรรมการบริโภคพฤติกรรมการออกกำลังกายพฤติกรรมความปลอดภัยการใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต และพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรม และการบริการดังนั้นการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศจำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคลครอบครัวและชุมชนครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ สาเหตุที่ทำให้ประชากรไทยเป็นโรคอ้วน และกลุ่มโรคที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน เกิดจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง การบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกายและความเครียด
จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบได้ตรวจสุขภาพประจำปีประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ. 2562 พบว่ามีประชาชนที่เข้าร่วมตรวจคัดกรองเบื้องต้น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1875 คน พบว่ามีความเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 120 mmdl จำนวน 340 คน คิดเป็นร้อยละ 18.13 กลุ่มนี่จึงมีโอกาสที่จะเปลี่ยนไปเป็นโรคเบาหวานที่ต้องรับประทานยาตลอดชีวิตได้ ส่วนกลุ่มที่มีความเสี่ยงค่าระดับความดันโลหิตสูงเกิน 120/80 mmHg จำนวน176คน คิดเป็นร้อยละ 9.39 กลุ่มนึ้จึงมีโอกาสเปลี่ยนไปเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและรับประทานยาตลอดชีวิตได้ ซึ่งในกลุ่มนี้ก็มีโอกาสป่วยด้วยโรคทั้ง 2 โรคได้
ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ตระหนักถึงประชาชนกลุ่ม 35 ปีขึ้นไปของตำบลทำนบที่มีผลเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง สมควรที่จะได้รับการดูแลและสร้างความรู้ที่ถูกต้อง รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ใช้หลัก 3อ.2ส. เพื่อให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร้อยละ 90

70.00 90.00
2 เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง

ผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเพิ่มไม่เกินร้อยละ ๒.๔๐

5.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 516
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเพื่อทำความเข้าใจโครงการและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเพื่อทำความเข้าใจโครงการและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำความเข้าใจโครงการและวางแผนการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มกราคม 2564 ถึง 29 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-รายละเอียดโครงการ -กำหนดการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์เชิญชวนมาเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกลุ่มเป้าหมายมาสมัครเข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้กับกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้กับกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในกลุ่มเป้าหมายที่ผลการคัดกรองมีภาวะเสี่ยง จำนวน 516 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท                                           เป็นเงิน  25,800  บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันกลุ่มเป้าหมายที่ผลการคัดกรองมีภาวะเสี่ยง                จำนวน  516 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท                                          เป็นเงิน  30,960  บาท
  3. ค่าป้ายไวนิลโครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ จำนวน  1  ป้าย                                                                                           เป็นเงิน   500  บาท
  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวน  7 ป้ายๆละ  300 บาท                                                                            เป็นเงิน  2,100 บาท
  5. ค่าเอกสารความรู้เรื่อง 3อ.2ส.  จำนวน   520  แผ่นๆละ 1 บาท                                                                                                         เป็นเงิน   520    บาท
  6. ค่าสมุดบันทึกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.สำหรับกลุ่มเสี่ยง    จำนวน   520  ชุดๆละ  10 บาท                               เป็นเงิน   5,200  บาท
  7. ค่าวิทยากร จำนวน 5 คนๆละ 2 ชม.ๆละ 600 บาท                                                                                                                        เป็นเงิน   6,000   บาท        หมายเหตุ       ค่าใช้จ่ายถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ติดตามกลุ่มเป้าหมายโดย ตรวจวัดความดันโลหิตและเจาะเลือด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 2.ติดตามความก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่อครบ 6 เดือน 3.สรุปและประเมินผลภาพรวมของโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
71080.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลโครงการ และรายงานผลการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่มีภาะวะเสี่ยงทั้งหมด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 1 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินโครงการ จัดทำเอกสาร สรุปผลโครงการ และจัดทำเอกสารทางการเงิน

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 71,080.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ทำให้กลุ่มเสี่ยงกลับเป็นกลุ่มปกติ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดจำนวนลง ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปมีสุขภาพที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


>