กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2564 (ประเภทที่ 1)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2564 (ประเภทที่ 1)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

งานแพทย์แผนไทย กลุ่มงานบริการการแพทย์และสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลกายภาพบำบัด กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและติดสังคมรายใหม่ ในเขตเทศบาลนครยะลา ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2563 ที่ได้รับการการดูแลฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน รวมทั้งสิ้น 190 คน โดยเป็นผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 27 ราย ผู้ป่วยติดบ้าน 32 ราย ผู้ป่วยติดสังคม จำนวน 131 รายงานแพทย์แผนไทยได้ออกให้บริการฟื้นฟูสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นผู้ป่วยติดบ้านและผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านต่อเนื่อง จำนวน 26 รายที่สามารถให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยได้ โดยแบ่งระดับผู้ป่วยตามแบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ADL) ได้ดังนี้ ระดับภาวะพึ่งพาโดยสมบูรณ์ (คะแนน 0-4) จำนวน 8 คน ระดับภาวะพึ่งพารุนแรง (คะแนน 5-8) จำนวน 5 คน ระดับภาวะพึ่งพาปานกลาง (คะแนน 9-11) จำนวน 4 คน และระดับไม่เป็นการพึ่งพา (คะแนน 12-20) จำนวน 9 คน หลังจากได้รับการฟื้นฟูสภาพ ผู้ป่วยมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยแบ่งระดับคะแนนที่เพิ่มขึ้น 2-5 คะแนน จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.15 ระดับคะแนนที่เพิ่มขึ้น 6-10 คะแนน จำนวน 5 ราย คิดเป็น ร้อยละ 19.23 ระดับคะแนนที่เพิ่มขึ้น 11-15 คะแนน จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.38 ผู้ป่วยที่มีคะแนนคงที่ จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.54 และผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยพยาธิสภาพของโรคและอาการแทรกซ้อน จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69แสดงให้เห็นว่าการออกให้บริการด้านสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้แก่ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ส่งผลให้การดำเนินของโรคเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นและเนื่องจาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้ หรือเคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อย ทำให้ดำเนินกิจวัตรประจำวันได้อย่างจำกัด หากผู้ป่วยไม่ได้รับการฟื้นฟู หรือได้รับการฟื้นฟูที่ไม่ถูกต้องนั้น อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา อาทิ การเกิดแผลกดทับ ภาวะข้อยึดติด การหดสั้นของเอ็นกล้ามเนื้อ ภาวะแข็งเกร็ง อ่อนแรง หรือฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ อาการเจ็บปวด บวม ชา ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งการฟื้นฟูผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย อาทิ การนวด การประคบสมุนไพร สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกายทำให้เกิดความผ่อนคลาย ช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อและข้อ ลดการยึดติดของข้อ ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันเพื่อช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีหัตถการอื่น ๆ ในทางการแพทย์แผนไทย ที่สามารถนำมาใช้ดูแล รักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
งานแพทย์แผนไทย กลุ่มงานบริการการแพทย์และสาธารณสุขสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในเขตเทศบาลนครยะลาปี 2564 โดยมีการออกปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเตียงที่บ้าน ประเมินผล ให้คำแนะนำ และทำหัตถการเพื่อบำบัด รักษา ฟื้นฟู ดังนี้ การนวดรักษา การประคบสมุนไพร การพอกยา การเผายา และการจ่ายยาสมุนไพร ซึ่งการออกปฏิบัติดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน สามารถทำหัตถการรักษาได้อย่างเต็มที่และติดตามการรักษาได้ต่อเนื่อง ทำให้ดูแลสุขภาพผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กายภาพบำบัดในผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้กับญาติและผู้ดูแล เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพบำบัดโรคที่ดีอีกวิธีหนึ่งให้กับญาติและผู้ดูแลได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพทั้งของตนเองและผู้ป่วยได้ถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง สามารถฟื้นฟู สมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ สามารถทำกิจวัตรประจำวันเพื่อช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น
  1. จำนวนผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงที่เข้าร่วมโครงการได้รับการฟื้นฟูสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (19ราย)
  2. ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงที่เข้าร่วมโครงการได้รับการฟื้นฟูด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยครบตามเกณฑ์ (17ราย)
  3. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงที่ได้รับการฟื้นฟูด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยมีผลทางคลินิกอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
    (คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 80 ขึ้นไป)
0.00
2 2. เพื่ออบรมส่งเสริมความรู้การดูแล เพิ่มพูนทักษะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กับญาติ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้อย่างถูกวิธี
  1. ญาติและผู้ดูแลมีความรู้ ทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย      ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
0.00
3 3. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในเขตเทศบาลนครยะลา ได้รับการส่งเสริมดูแลสุขภาพด้วยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
  1. ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงมีความพึงพอใจในกิจกรรมของโครงการ  ร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 24
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย ติดบ้าน ติดเตียงที่บ้าน ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในเขตเทศบาลนครยะลา

ชื่อกิจกรรม
การฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย ติดบ้าน ติดเตียงที่บ้าน ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ในเขตเทศบาลนครยะลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
55659.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้กับญาติและผู้ดูแล

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้กับญาติและผู้ดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5915.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,574.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง สามารถฟื้นฟู สมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ สามารถทำกิจวัตรประจำวันเพื่อช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น และลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่ป่วยหรือโรคอื่น ๆ ที่ตามมา
2. ผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
3. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงได้เข้าถึงบริการฟื้นฟูสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยทำให้สุขภาพแข็งแรง ช่วยเหลือตัวเองได้รวดเร็วขึ้น


>