กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพนักจัดการสุขภาพ 4.0 สู่หมอประจำบ้าน (โครงการต่อเนื่อง)ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพวังประจัน

1…นายวัฒนชัย ไชยจิตต์…………………
2…นางสาวมารียา สุขสง่า............……
3…นางรสนาบินหมาน…………………
4…นางวนิดาศรีริภาพ………………..
5…นางอภิยา เหตุทอง……………………..

ตำบลวังประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากการที่รัฐบาลมีนโยบาลพัฒนาประเทศไทยให้เป็น“ประเทศไทย 4.0 ” (Thailand 4.0 ) โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามนโยบาลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ร่างกายแข็งแรง ทำให้เศรษฐกิจประเทศแข็งแรง ” กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข ) ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ตั้งเป้าหมายให้ “เป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ ” โดยมีการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต มุ่งเน้นการพัฒนาคนเชิงคุณภาพ ในทุกช่วงวัย โดยมีการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญาและสังคม โดย ประกอบไปด้วย 1. การส้รางความรอบรู้ด้านสุขภาวะ 2. การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาวะ 3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี 4. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัยสนับสนุนการส้รางสุขภาวะที่ดี 5. การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในพื้นที่
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพนักจัดการสุขภาพ 4.0 สู่หมอประจำบ้าน เพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถของ อสม.ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ให้ประชาชนทุกครัวเรือนสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง ให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ลดความแออัด ลดความเหลื่อมล้ำ ไร้รอยต่อ ลดการรอคอย และลดค่าใช้จ่าย รวมถึงการให้ความรู้ด้านสมุนไพรที่ถูกต้องแก่ประชาชน ได้แก่ 1.วิชา อสค.และบทบาท อสม.หมอประจำบ้าน 2.วิชาการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ 3.วิชาส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 4.วิชาภูมิปัญญาไทย สมุนไพร และการใช้กัญชาทางการแพทย์ 5.วิชาเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ และแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ และ 6.การเป็นผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยมีการสนับสนุนให้มีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ทุกครอบครัวทั้งในกลุ่มที่มีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง กลุ่มภาวะพึ่งพิงและกลุ่มครอบครัวทั่วไปในละแวกบ้านของ อสม. หมอประจำบ้าน เป็นพี่เลี้ยงให้ อสค.ดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ ลดโรคเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพจิต อุบัติเหตุ ใช้เครื่องมือสื่อสาร และเป็นการแกนในการดูแลสุขภาพ เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพดี แข็งแรง พึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ นักจัดการสุขภาพ 4.0ให้เป็น หมอประจำบ้าน
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เรื่องอสค.และบทบาท อสม.หมอประจำบ้าน ร้อยละ 70
  2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ ที่มีความรู้เรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ ร้อยละ 70
  3. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เรื่องส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ร้อยละ 70
  4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย สมุนไพร และการใช้กัญชาทางการแพทย์ ร้อยละ 70
  5. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ และแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ ร้อยละ 70
  6. ร้อยละของนักจัดการสุขภาพเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักจัดการสุขภาพ 59

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้หลักสูตรนักจัดการสุขภาพ 4.0 สู่หมอประจำบ้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้หลักสูตรนักจัดการสุขภาพ 4.0 สู่หมอประจำบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำแนวทางการดำเนินงานพัฒนา นักจัดการสุขภาพ 4.0 สู่หมอประจำบ้าน
  2. จัดประชุมบูรณการ ชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
  3. กำหนดขอบเขตเนื้อหาในการพัฒนา นักจัดการสุขภาพ สู่หมอประจำบ้าน
  4. พัฒนาและจัดหาเครื่องมือเพื่อใช้ในการดำเนินงาน เครื่องมือดิจิตอลสำหรับพัฒนาศักยภาพ นักจัดการสุขภาพ 4.0 สู่หมอประจำบ้าน ประกอบด้วย 4.1. Application สมาร์ท อสม.
    4.2. อสม.ออนไลน์
    5.จัดอบรมให้ความรู้หลักสูตรนักจัดการสุขภาพ 4.0 สู่หมอประจำบ้าน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน59คนๆละ 2มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 7,080 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 59คนๆละ 2มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,900 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็ยเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักจัดการสุขภาพได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นตามหลักสูตร .นักจัดการสุขภาพสู่หมอประจำบ้าน.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14780.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการฝึกภาคปฏิบัติงานตามหลักสูตรนักจัดการสุขภาพ 4.0 สู่หมอประจำบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการฝึกภาคปฏิบัติงานตามหลักสูตรนักจัดการสุขภาพ 4.0 สู่หมอประจำบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการฝึกภาคปฏิบัติงานตามหลักสูตรนักจัดการสุขภาพ 4.0 สู่หมอประจำบ้าน -ค่าอาหารกลางวันจำนวน59คนๆละ2มื้อๆละ 60 บาทเป็นเงิน 7,080 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน59คนๆละ2มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 5,900 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน6ชั่วโมงๆละ300เป็นเงิน1,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักจัดการสุขภาพได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นตามหลักสูตร .นักจัดการสุขภาพสู่หมอประจำบ้าน.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14780.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักจัดการสุขภาพได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นตามหลักสูตร .นักจัดการสุขภาพสู่หมอประจำบ้าน.


>