กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการป้องกันเด็กจมน้ำตะโกน โยน ยื่น โดยผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในเขตเทศบาลนครยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

โรงเรียนในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปี 2562 จังหวัดยะลา เป็น 1 ใน 30 จังหวัด ที่มีพื้นที่เสี่ยง ได้รับการจัดอันดับว่าพื้นที่เสี่ยงปานกลาง (พื้นที่สีเหลือง) ที่มีเด็กจมน้ำระดับปานกลางพบว่าอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรเด็กแสนคน เท่ากับ 5 - 7.4 ซึ่งตามตัวชี้วัดควรมีอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี น้อยกว่า 3.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จะจมน้ำมากในเดือนเมษายน รองลงมาเดือนมีนาคมและพฤษภาคม จำนวน เสียชีวิตเฉลี่ย 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 – 2561 เฉลี่ย 9 ราย จากประชากรเด็กทั้งหมดปี พ.ศ.2559 – 2561 จำนวน 138,119 ราย อัตราเฉลี่ยการเสียชีวิตปี พ.ศ.2559 – 2561 จำนวน 6.3 ราย ปี 2563 (1 มกราคม 2563 – 13 พฤศจิกายน 2563) ไม่พบเด็กจมน้ำในเขตเทศบาลนครยะลา(ข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 2563)
การรณรงค์สื่อสารประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันการจมน้ำ ผู้ก่อการดี (Merit Maker) คือ กลยุทธ์การดำเนินงานป้องกันการจมน้ำที่ครอบคลุมทั้งการจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม เกิดจากการรวมตัวกันเป็นทีมขึ้นของเครือข่ายภาครัฐ (สาธารณสุข ท้องถิ่น การศึกษา ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ภาคเอกชน จิตอาสา หรือ ประชาชนทั่วไป เพื่อร่วมกันดำเนินการควบคุมป้องกันและ เฝ้าระวังโรคการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา ในฐานะผู้รับผิดชอบงานสาธารณสุขในภาคท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการป้องกันเด็กจมน้ำตะโกน โยน ยื่นโดยผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในเขตเทศบาลนครยะลา โดยอาศัยกระบวนการให้ความรู้แก่ครู ครูพี่เลี้ยง ผู้ปกครอง ประชาชนที่อยู่บริเวณจุดเสี่ยงใกล้แหล่งน้ำ และแกนนำนักเรียน ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำในเด็ก ตลอดจนสามารถป้องกัน ช่วยเหลือคนจมน้ำอย่างถูกวิธี และการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือคนจมน้ำเบื้องต้นได้ถูกต้อง
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ100
  2. มีความรู้ในการช่วยเหลือคนจมน้ำเบื้องต้นได้ถูกต้องร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กเนื่องจากเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้
  1. ลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุ น้อยกว่า 15 ปี น้อยกว่า 3.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน
  2. ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (สถานที่เอกชน) จำนวน 2 กลุ่ม ดังนี้ 2.1 กลุ่มที่ 1 ครู(โรงเรียนนอกสังกัดเทศบาล) ครูพี่เลี้ยง(สถานรับเลี้ยงเด็กนอกสังกัดเทศบาล) ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการที่อยู่อาศัยบริเวณจุดเสี่ยง จำนวน 50 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (สถานที่เอกชน) จำนวน 2 กลุ่ม ดังนี้ 2.1 กลุ่มที่ 1 ครู(โรงเรียนนอกสังกัดเทศบาล) ครูพี่เลี้ยง(สถานรับเลี้ยงเด็กนอกสังกัดเทศบาล) ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการที่อยู่อาศัยบริเวณจุดเสี่ยง จำนวน 50 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
87755.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ป้ายประชาสัมพันธ์โฟมบอร์ดการป้องกันและช่วยเหลือเบื้องต้นคนจมน้ำ ติดตั้งที่โรงเรียนระดับประถม (โรงเรียนนอกสังกัดเทศบาล) และสถานรับเลี้ยงเด็กนอกสังกัดเทศบาล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ป้ายประชาสัมพันธ์โฟมบอร์ดการป้องกันและช่วยเหลือเบื้องต้นคนจมน้ำ ติดตั้งที่โรงเรียนระดับประถม (โรงเรียนนอกสังกัดเทศบาล) และสถานรับเลี้ยงเด็กนอกสังกัดเทศบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 116,155.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดเครือข่ายการมีส่วนร่วมในชุมชนต่อการป้องกันเด็กจมน้ำพื้นที่จุดเสี่ยงจมน้ำ
2. อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี น้อยกว่า 3.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน


>