กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพเด็กในวัยเรียน โรงเรียนบ้านปะกาลือสง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

โรงเรียนบ้านปะกาลือสง

โรงเรียนบ้านปะกาลือสง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคน ทุกสถานที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โรงเรียนเป็นสถาบันการสร้างเสริมสุขภาพที่สำคัญ เป็นสถานที่ซึ่งทุกคนในโรงเรียนและชุมชนร่วมกันจัดโครงสร้างและประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมและดูแลสุขภาพของนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และชุมชนนั้นๆ โดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง สมาชิกในชุมชน เป็นตัวแทนเพื่อกำหนดความต้องการและแนวทางในการแก้ปัญหา การพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินควบคู่กันไปให้เกิดการประสานเอื้ออำนวยประโยชน์และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อกลุ่มเป้าหมายเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต การส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีพร้อมต่อการเรียนรู้ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ในช่วงปีที่ผ่านมาทางโรงเรียนบ้านปะกาลือสงได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อการเป็นการส่งเสริมสุขภาพในเด็กวัยเรียน ทางโรงเรียนได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆมีการส่งตัวแทนไปประกวดหรือร่วมการแข่งขันในกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายและได้รับรางวัลกลับมาจำนวนมากมาย นักเรียนสามารถนำความรู้หรือประสบการณ์จากกิจกรรมต่างๆเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างมากส่งผลดีต่อสุขภาพ การเรียนของนักเรียนเอง ทางโรงเรียนบ้านปะกาลือสงมีความตั้งใจและอยากสานต่อในกิจกรรมดีๆเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อขอความอนุเคราะห์จากคณะกรรมการกองทุนฯในการอนุมัติเห็นชอบต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความสามารถดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อภัยคุกคามสุขภาพ

ร้อยละ 100 ของนักเรียนในโรงเรียบมีความรู้และสามารถดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้

100.00 100.00
2 เพื่อให้นักเรียนได้มีทักษะกีฬา ความรู้ มีกิจกรรมการขยับกาย การเคลื่อนไหวทางกาย ในการดูแลสุขภาพต่อไป

ร้อยละ 100 นักเรียนในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจในทักษะกีฬา หรือกิจกรรมการขยับกาย การเคลื่อนไหวทางกาย

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 130
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “อยู่อย่างไรกับวัยเรียนเพื่อให้มีความสุข”

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “อยู่อย่างไรกับวัยเรียนเพื่อให้มีความสุข”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 บาท x 100 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน7,000 บาท
  • ค่าวิทยากร 5 ชม x600 บาท เป็นเงิน3,000บาท รวมเป็นเงิน 10,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเรื่อง"โรคติดต่อหรือโรคระบาดในพื้นที่"

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเรื่อง"โรคติดต่อหรือโรคระบาดในพื้นที่"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนยน 35 บาท x 100 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่าวิทยากร 5 ชม x600 บาท เป็นเงิน3,000บาท รวมเป็นเงิน10,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมทักษะกีฬา กิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมทักษะกีฬา กิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  35 บาท x 100 คน x 2 มื้อ  เป็นเงิน  7,000 บาท
  • ค่าวิทยากร 5 ชม.ๆละ 600 บาท  เป็นเงิน  3,000  บาท รวมเป็นเงิน   10,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีทักษะการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางกาย เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหว ขยับกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหว ขยับกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย และการขยับกาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
๑. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ตัวแทนผู้ปกครอง คณะกรรมการโรงเรียน
๒. จัดอบรมให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “ทักษะกีฬา กิจกรรมทางกาย”
3. จัดอบรมให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “อยู่อย่างไรกับวัยเรียนเพื่อให้มีความสุข”
4. กิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหว ขยับกาย
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีตามวัยของเด็กในวัยเรียน
2. ผู้ปกครอง ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย
3. มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โดยกีฬาปันจักสีลัต เป็นทางเลือกอีกประเภทกีฬาหนึ่งที่นักเรียนสามารถนำไปใช้และฝึกต่อไป
4. นักเรียนมีความรู้เรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีภูมิคุ้มกันที่ดี
5. นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ปกติ


>