กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดรายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรคได้ ปี2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดรายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรคได้ ปี2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา

นางศิรานันท์ บุตรบุรี

ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลบ้านศาลาตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

33.98
2 ร้อยละของประชากรที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

 

17.64
3 ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

 

1,475.00
4 ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

 

1,274.00

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย จากการประเมินสถานการณ์พบว่า อัตราชุกของโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแบบชันอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 โดยระดับคุณภาพของระบบงานในการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังดำเนินการในลักษณะตั้งรับ แม้ว่าจะมีนวัตกรรมกิจกรรมเชิงรุกอยู่ในหน่วยบริการระดับต่างๆอยู่แล้วแต่ก็ยังไม่เป็นระบบที่ต่อเชื่อมกันได้ดีมีการจัดการกับพฤติกรรมเสี่ยงน้อย ระบบติดตามภาวะแทรกซ้อนยังขาดความต่อเนื่อง
จากการสรุปผลการดำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD) ในปี ๒๕๖๓ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ พบว่าจังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2559 – 2563ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 4.615, 5.158, 5.483, 5.481 ต่อแสนประชากร ตามลำดับจากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 1,475 คน ได้รับการคัดกรองโดยการเจาะปลายนิ้ว จำนวน 1,427 คนคิดเป็นร้อยละ 96.75 พบประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง จำนวน 348 คน โดยประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการเจาะโลหิตซ้ำ จำนวน 342 คน คิดเป็นร้อยละ 98.28 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 11.11 ในส่วนของผู้ป่วยโรคเบาหวานในปี 2561 มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนทั้งหมด 116 คน ได้รับการตรวจเลือดประจำปี จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 84.48 มีผู้ป่วยที่คุมน้ำตาลได้ จำนวน 31.90 ในส่วนของการดำเนินงานป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในปี 2563ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,274 คน คน ได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,230 คนคิดเป็นร้อยละ 96.55 พบประชากร กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 161 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 93.17 และมีผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.65 ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีผู้ป่วย จำนวนทั้งหมด 364 คน มีผู้ป่วยที่คุมคุมความดันได้ดีจำนวน 283คน คิดเป็นร้อยละ 77.75
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ในแต่ละปีประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป รวมทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จะต้องได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพประจำปีตามเกณฑ์มาตรฐาน ตามแนวทางการดำเนินงานที่กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำไว้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัด (KPI) เพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD) จึงมีความจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมตั้งประชาชนหรือผู้ป่วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงและการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรคได้ ยังคงเป็นปัญหาที่ท้าทายและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ได้นำวิธีคิด“การจัดการโรค”(Diseases Management) “รูปแบบโรคเรื้อรัง” (Chronic Care Model) และ“รูปแบบการจัดการดูแลโรคเรื้อรัง”(“Chronic Diseases Management Model”)มาบูรณาการกับกรอบความคิด“รูปแบบการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ขององค์การอนามัยโลก จนเกิดกรอบแนวคิดบูรณาการที่ เน้น ‘ความต่อเนื่อง’ ‘บูรณาการ’และ‘ประสานดำเนินการ’ ทั้งในส่วนของการป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลเข้าด้วยกัน จึงได้จัดทำ "โครงการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรคได้ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้ป่วยมีความรู้และมีความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนกลุ่มนี้ได้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต รวมถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายประกอบโรคศิลปะ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประกาศกำหนดไว้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองเบาหวานในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

ของประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ป่วยด้วยโรคความเบาหวานได้รับการคัดกรอง มากกว่าร้อยละ 90

90.00 95.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จากการคัดกรอง

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

90.00 95.00
3 เพื่อติดตามกลุ่ม เสี่ยงเบาหวาน (ค่า DTX ≥ 100 mg/dL) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน ได้จากการคัดกรอง ได้รับการติดตามเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00 85.00
4 เพื่อให้กลุ่มแฝง/เสี่ยง(SBP=120-139 mmHg.หรือ DBP=80-89 mmHg.) ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มแฝง/เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้จากการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

50.00 55.00
5 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD risk และภาวะไตวายเรื้อรัง จนมีพยาธิสภาพดีขึ้น

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD risk และภาวะไตวายเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นจนมีพยาธิสภาพดีขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00 85.00
6 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนด้วยการแช่เท้าด้วยสมุนไพรและได้รับการตรวจประเมินสุขภาพ ตา ไต เท้า และเจาะเลือดประจำปี

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตรับบริการได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายฤๅษีดัดตนและได้รับการฝึกปฏิบัติการดูแลเท้าด้วยตนเองด้วยการแช่เท้าด้วยสมุนไพร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00 85.00
7 เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการตรวจประเมินสุขภาพ ไต ตา เท้า และเจาะเลือดประจำปี

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพ ไต ตา เท้า ผู้ป่วยเบาหวาน และเจาะเลือดประจำปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00 85.00
8 เพื่อลดระดับความรุนแรงของโรคจากการได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเครื่องมือ “ปิงปองจราจร ชีวิต 7 สี

ผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่รับบริการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในสถานบริการและชุมชน โดยใช้“ปิงปอง 7 สี สื่อสุขภาพ” ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00 85.00
9 เพื่อให้ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่สามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 และโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,802
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 445
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/05/2021

กำหนดเสร็จ 17/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ร่วมกับ อสม.
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 ตุลาคม 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทะเบียนกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
  2. ทะเบียนกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรคเบาหวาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชนร่วมกับ อสม.

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชนร่วมกับ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชนร่วมกับ อสม. ค่าใช้จ่าย 1.จัดซื้อแถบวัดระดับน้ำตาล จำนวน 31 กล่อง กล่องละ390บาท เป็นเงิน 12,090 บาท
2.ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง หน้า-หลัง จำนวน 1,514บาท เป็นเงิน 1,514 บาท
3.เครื่องชั่งน้ำหนัก ดิจิตอล หมู่บ้านละ1เครื่อง เครื่องละ1,200บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 25 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19604.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องโรค อาหาร และการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน และติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส โดยการติดตามบันทึกข้อมูลโดย อสม.ที่รับผิดชอบครัวเรือน ค่าใช้จ่าย 1. ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม มื้อละ 25 บาทต่อคน คนละ 1 มื้อ จำนวน 40 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. 2 ส. ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าถ่ายเอกสาร 2 หน้า จำนวน 40 แผ่น ราคาแผ่นละ 1 บาท เป็นเงิน 40 บาท
4. ค่าวัสดุและค่าจัดการอบรม เหมาจ่าย 1,860 บาท
5. ค่าสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวเพื่อการประเมินและจัดการความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 40 เล่ม เล่มละ 60 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
6. ค่าชุดโมเดลอาหาร เป็นเงิน 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22100.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (ค่า DTX=100-125 mg/dL) หลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครบ 6 เดือน
2.ติดตามกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน (ค่า DTX≥126 mg/dL) เจาะ FBS ครั้งที่ 1 หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ครบ 1 เดือนและเจาะครั้งที่ 2 หลังเจาะครั้งแรก 1 อาทิตย์
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2564 ถึง 17 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคเบาหวานได่รับการติดตามเจาะ FBS ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดย อสม.

ชื่อกิจกรรม
ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดย อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง (SBP=120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) หลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดย อสม.ที่รับผิดชอบครัวเรือน
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 17 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน มากกว่า ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริม เฝ้าระวัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริม เฝ้าระวัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนและส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวานด้วยการแช่เท้าด้วยสมุนไพร ฝึกปฏิบัติการดูแลเท้า นวดฝ่าเท้าด้วยตนเองจำนวน 2 รุ่นๆ ละ 40 คน
ค่าใช้จ่าย
1. ผ้าเช็ดเท้าจำนวน 9 โหลๆละ 300 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
2. โลชั่นผสมวาสลิน ขนาด 350 ml จำนวน 3 ขวดๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท
3. สมุนไพรแช่เท้าเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต 3.1 ใบมะขามแห้ง 2 กก.ๆละ 80 บาทเป็นเงิน 160 บาท
3.2 ผิวมะกรูด 2 กก.ๆละ 120 บาท เป็นเงิน 240 บาท 3.3 ไพล 2 กก.ๆละ 180 บาท เป็นเงิน 360 บาท 3.4 ขมิ้นชัน 2 กก.ๆละ 140 บาท เป็นเงิน 280 บาท 3.5 กะละมัง 12 นิ้ว จำนวน 55 ใบ ราคาใบละ 30 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท 4. ค่าสมนาคุณวิทยากรกิจกรรมออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนและส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวานด้วยการแช่เท้าด้วยสมุนไพร ฝึกปฏิบัติการดูแลเท้า ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท จำนวน 2 รุ่น รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
5. ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม มื้อละ 25 บาทต่อคน คนละ 1 มื้อ จำนวน80 คน เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการส่งเสริม เฝ้าระวัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11590.00

กิจกรรมที่ 7 ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD Risk และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD Risk และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ความเสี่ยง CVD riskจำนวน 27 คน และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังในระยะ 3 และ 4 จำนวน 17 คน โดยเจ้าหน้าที่และ อสม. ค่าใช้จ่าย 1. เครื่องตรวจปริมาณเกลือในอาหารในอาหาร จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าจัดทำสมุดบันทึกการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ความเสี่ยง CVD risk จำนวน 27 ชุด ราคาชุดละ 15 บาท เป็นเงิน 405 บาท
3. ค่าจัดทำสมุดบันทึกการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังในระยะ 3 และ 4 ตามหลัก 3 อ.2 ส. จำนวน 17 ชุด ราคาชุดละ 15 บาท เป็นเงิน 255 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 17 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3660.00

กิจกรรมที่ 8 ตรวจสุขภาพ ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพ ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจประเมินสุขภาพ ไต ตา เท้า ผู้ป่วยเบาหวาน และเจาะเลือดประจำปี ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 17 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจประเมินสุขภาพ ตา ไต เท้า ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 9 อบรมการใช้ปิงปอง 7 สี ใน อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมการใช้ปิงปอง 7 สี ใน อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการและอบรมการใช้ปิงปอง 7 สี เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และ อสม.เพื่อใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในสถานบริการและชุมชน โดยใช้เครื่องมือ“ปิงปอง 7 สี สื่อสุขภาพ”โดยการเยี่ยมบ้านโดย จนท.และ อสม.
ค่าใช้จ่าย
-ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับปิงปอง 7 สี และ 3 อ.2 ส. ขนาดกระดาษ A4 อาร์ตมัน ขนาด 157 แกรม พิมพ์ 2 หน้า ราคาแผ่นละ 15 บาท จำนวน 72 แผ่นเป็นเงิน 1,050 บาท
-ค่าจัดทำโฟมบอร์ดปิงปอง 7 สี ขนาด 2.4ม.X1.17ม. จำนวน 1 แผ่น แผ่นละ 1,600 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2564 ถึง 10 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ได้รับความรู้การใช้ปิงปอง 7 สี ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2650.00

กิจกรรมที่ 10 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน รายงานกองทุนฯ
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 17 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อุบัติการณ์รายใหม่โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เทียบ ๓ ปี ย้อนหลังลดลง
2.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่สามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 59,604.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อุบัติการณ์รายใหม่โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เทียบ ๓ ปี ย้อนหลังลดลง
2.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่สามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา


>