กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน ๖-๑๔ ปี ตาม วิถีชุมชน ปีงบประมาณ 25๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กวัยเรียนและเยาวชน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ กรมอนามัยได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้แข็งแรงโดยมีเป้าหมาย คือ เด็กวัยเรียนเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ กำหนดตัวชี้วัดร้อยละของเด็กวัยเรียน อายุ ๖-๑๔ ปี สูงดีสมส่วน มากกว่าร้อยละ ๖๗ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ของประเทศไทย ร้อยละ ๖๓.๑/เขต ๑๒ ร้อยละ ๕๘.๗/ปัตตานี ร้อยละ ๕๙.๖๕
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน (๖-๑๔ ปี) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง ปีงบประมาณ 256๓ เด็กนักเรียน ๑๙๐ คน ชั่งน้ำหนัก คน/ร้อยละ (๑๗๔/๙๑.๕๘ สูงดีสมส่วน คน/ร้อยละ(๙๗/ ๕๑.๐๕) ภาวะผอม คน/ร้อยละ (1๔/๗.๓๗) ค่อนข้างผอม คน/ร้อยละ(๑๕ /๗.๘๙) เตี้ยคน/ร้อยละ(๒๗/1๔.๒๑) ค่อนข้างเตี้ยคน/ร้อยละ( ๑๖/๑๔.๒๑) สมส่วน คน/ร้อยละ ๑๒๙/6๗.๘๙ (เกณฑ์ร้อยละ 68)จากข้อมูลสถิติจะเห็นไห้ได้ว่า เด็กนักเรียนในเขตรับผิดชอบยังมีปัญหาภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง จึงจัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน ๖-๑๔ ปี ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ 25๖๔เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
การดำเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะทีมเครือข่ายสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องมีความรู้ และมีเครื่องมืออุปกรณ์ในการติดตามเฝ้าระวังโภชนาการเด็กเพียงพอและได้มาตรฐานตามที่กำหนดจากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมังจัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน ๖-๑๔ ปี ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ 25๖๔ เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 .เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการกลุ่มนักเรียน ๖-๑๔ ปี ที่มีความเสี่ยงต่อการมีปัญหาภาวะโภชนาการ(ผอม)

 

0.00

1.เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการกลุ่มนักเรียน ๖-๑๔ ปี ที่มีความเสี่ยงต่อการมีปัญหาภาวะโภชนาการ(ผอม)
๒.เพื่อให้เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด
๓.เครือข่ายพันธ์มิตรสร้างสุขภาพในชุมชน มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาภาวะทุพ โภชนาการ(ผอม) จำนวน ๗0 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาภาวะทุพ โภชนาการ(ผอม) จำนวน ๗0 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑) ให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน ๗๐ คนX 25 บาท เป็นเงิน1,750.-บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 3,150.-บาท - ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน ๗๕0.-บาท - ค่าถ่ายเอกสารแผ่นบันทึกกราฟแสดงการเจริญเติบโตของเด็กกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๗๐ ใบเป็นเงิน 500.-บาท -จัดทำสมุดประจำตัว๗0 เล่ม พร้อมเอกสารความรู้และการปฏิบัติตนเองเป็นเงิน 3,000.- บาท 2.) ประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/แกนนำชุมชน(๗๐+๒๐)สร้างเสริมประสบการณ์ การประกอบอาหารตามธงโภชนาการอย่างง่ายๆ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๙๐ คน X 50 บาท เป็นเงิน๔,๕๐0.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๙๐ คนX 25 บาทX๑มื้อ เป็นเงิน๒,๒๕๐.-บาท - ค่าจัดซื้อวัตถุดิบ อาหารสด อาหารแห้ง ในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารตามธง โภชนาการอย่างง่าย จำนวน ๕ ชุด ๆละ 500 บาท เป็นเงิน ๒,๕00.-บาท - ค่าเอกสารประเมินความพึงพอใจ/ แบบทดสอบเป็นเงิน400.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมเพิ่มศักยภาพและติดตาม ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรมครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมเพิ่มศักยภาพและติดตาม ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรมครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๙๐คนๆ ละ 25บาท เป็นเงิน1,750.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมเพิ่มศักยภาพและติดตาม ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรมครั้งที่ ๒

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมเพิ่มศักยภาพและติดตาม ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรมครั้งที่ ๒
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๙๐คนๆ ละ 25บาท เป็นเงิน1,750.- บาท
  • ค่าติดตาม โดย ทีมแกนนำเครือข่ายสุขภาพจำนวน 10 คน x 100 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๗0 คนๆ ละ 25บาท/มื้อ เป็นเงิน 1,750.- บาท - ค่าประกาศนียบัตร70 แผ่น เป็นเงิน 200.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการอย่างครอบคลุม
๒. ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียนมีความรู้และเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
๓. เด็กที่มีปัญหาโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
๔. เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการได้รับการแก้ไข และมีจำนวนเด็กวัยเรียนในจังหวัดปัตตานีสูงดีสมส่วน เพิ่มขึ้น ตามเกณฑ์ร้อยละ 68


>