กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาการดี สุขภาพแข็งแรง โตอย่างมีคุณค่า ปะกาลือสง ปี 64

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกา หมู่ที่ 6 บ้านปะกาลือสง

1. นายสือไขรี มามะ
2. นางสาวมาสนา สาแม
3. นางสาวแวฮัสนะห์ มามะ
4. นางสาวกอลีเยาะ มามะ
5. นางสาวรอสือด๊ะ อุมา

หมู่ที่ 6 บ้านปะกาลือสง ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งสำคัญที่ประชาชนในพื้นที่แสวงหา เช่น การมีโทรศัพท์ใช้ การมีรถยนต์ รถเครื่องใช้ การมีเครื่องซักผ้า หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆในครัวเรือน ซึ่งกลายเป็นค่านิยมที่ทุกครัวเรือนต้องมี การจะได้มาในสิ่งดังกล่าวข้างต้นก็จะต้องขยันทำมาหากิน เพื่อที่จะได้มีเงินหรือปัจจัยในการที่จะซื้อตามสิ่งที่ตนเองปราถนา ครอบครัวหลายครัวเรือนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากเดิมสังคมชนบทเป็นสังคมเมืองตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป สัมพันธภาพในครอบครัว ความอบอุ่น ขาดหายไปโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่ลืมในเรื่องของการดูแลสุขภาพตนเองและลูก มองข้ามในเรื่องของภัยมืดที่คุกคามสุขภาพโดยเฉพาะลูกๆหรือเยาวชนที่มีอยู่ เพราะเป็นกลุ่มเปราะบาง และเป็นอนาคตของชุมชนต่อไปจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างเกราะให้เข้มแข็ง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการที่ดีต่อไป
ปัญหาดังกล่าวข้างต้น เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ต้องช่วยกันป้องกันและแก้ไข ทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง มีหน้าที่โดยตรงในการอบรม สั่งสอน อบรมจริยธรรมให้แก่เยาวชนในพื้นที่ เห็นควรว่าการป้องกันปัญหาข้างต้นโดยเฉพาะปัญหาที่จะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้วกับเด็กในวัยเรียน ต้องได้รับการแก้และขับเคลื่อนในการป้องกันตั้งแต่ที่ยังป็นเด็กอย่างต่อเนื่อง ทางชมรมได้มีกิจกรรมขับเคลื่อนมาตลอดทุกปีโดยหาผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากภาคเอกชน ประชาชนในพื้นที่ และจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง
จากเหตุผลดังกล่าวทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง มองเห็นว่าถ้าได้มีการส่งเสริมจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้มารวมกลุ่มน่าจะเป็นสิ่งที่ดี จึงได้จัดทำโครงการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมแก้เด็กเยาวชนในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้รับความรู้ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อไปต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน

70.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กละเยาวชนในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ

ร้อยละ 95 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีสุขภาพร่างกายจิตใจแข็งแรง

80.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพของเครือข่ายในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพของเครือข่ายในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 25 บาท x 20 คนx 2 ครั้งเป็นเงิน1,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพของเด็กเยาวชนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพของเด็กเยาวชนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมหัวข้อเรื่อง “การสร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดในสังคมปัจจุบัน สู่อนาคตที่สดใส” - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน60 คน x 60บาทเป็นเงิน 3,600บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 60 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 500 บาท x 4 ชม. เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 720บาท รวมเป็นเงิน10,520 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเยาวชนมีความรู้ ทัศนคติ นำไปสู่การปฏิบัติที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10520.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการเคลื่อนไหว ขยับ กิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการเคลื่อนไหว ขยับ กิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกายในยามเย็น - ค่าวัสดุ อุปกรณ์(ลูกฟุตบอล ลูกวอลเล่ย์ ลูกตะกร้อ ลูกแชร์บอล อื่นๆ) เป็นเงิน3,480บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3480.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินและตรวจสุขภาพเด็กเยาวชน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและตรวจสุขภาพเด็กเยาวชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำการคัดกรองและตรวจสุขภาพเบื้องต้นแก่เด็กเยาวชน เช่น การตรวจสายตา ภาวะซีด โรคซึมเศร้า ภาวะทางจิตใจ เป็นต้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเยาวชนได้รับการเฝ้าสังเกตุอาการทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่
3. จัดอบรมหัวข้อเรื่อง “การสร้างภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดในสังคมปัจจุบัน สู่อนาคตที่สดใส”
4. จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกายในยามเย็น
4. ทำการเฝ้าระวังสุขภาพแก่เด็กเยาวชนในความรับผิดชอบ
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย
2. มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
3. เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีภูมิคุ้มกันที่ดี เกิดชุมชนแข็งแรงยั่งยืนในอนาคต
4. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ปกติ


>