กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านนาโหนด

1.นางสุรศักดิ์ พิศพักตร์
2.นางอุบล แก้วงาม
3.นายเสริม ไหม่อ่อน
4.นายผัน คงวงค์
5.นางสุดสวาส บุญรุ่ง

หมู่ที่1 3 6 10 ต.นาโหนดอ.เมืองจ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนขาดความรู้ ขาดความตระหนักในการคัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (คน)

 

100.00
2 จำนวนครัวเรือนมีพฤติกรรมคัดแยกขยะที่ถูกต้อง (ครัวเรือน)

 

50.00
3 จำนวนหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะ (หมู่บ้าน)

 

4.00

จากการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลนาโหนดอำเภอเมืองพัทลุงพบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ขยะมูลฝอยที่รถเก็บขนของเทศบาลนำไปเททิ้งยังบ่อขยะเพื่อกำจัดนั้นได้แก่ ขยะที่เป็นถุงพลาสติกจำนวนมาก ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตรายและขยะทั่วไป ซึ่งหากมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางจากแหล่งกำเนิดจะสามารถลดปริมาณขยะที่จะนำไปกำจัดลงได้ปริมาณขยะที่กำลังเป็นปัญหาของตำบลนาโหนด เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคในกิจวัตรประจำวันที่มีการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต หรือสิ่งแวดล้อม ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด จึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย จึงได้ทำโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ เกิดความตระหนักในการคัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ประชาชนผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน มีกิจกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือนและ นำขยะ กลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง (คน)

100.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีพฤติกรรมคัดแยกขยะที่ถูกต้อง(ครัวเรือน)

ครัวเรือนที่มีพฤติกรรมคัดแยกขยะถูกต้องเพิ่มขึ้น (ครัวเรือน)

50.00 80.00
3 เพื่อให้มีหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะ

มีหมู่บ้านต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง (หมู่บ้าน)

4.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 1,3,6,10 ตำบลนาโหนด 100
หมู่บ้านต้นแบบ 1

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือนให้กับประชาชนทั้ง 4 หมู่บ้านๆ ละ 25คน (วันละ 2 หมู่บ้าน) รวมทั้งสิ้น 100 คน โดยมีค่าใช้จ่ายประกอบด้วย -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 20 บาท x 50 คน x 2 วัน เป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 50 บาท x 50 คน x 2 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท
-ค่าวิทยากร 600 บาท x 3 ชั่วโมง x 2 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
-ค่าจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ 2 ป้าย ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร x 400 บาท เป็นเงิน 800 บาท 2.รับสมัครหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะครัวเรือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนและในครัวเรือน เกิดพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนของตัวเอง ร้อยละ 80
มีหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอย 1 หมู่บ้าน
ผลลัพธ์
ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13400.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะ แต่งตั้งคณะทำงาน/เครือข่าย ประเมินหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะ ออกแบบเกณฑ์การประเมิน ประเมินหมู่บ้านตามเกณฑ์ทัั้ง 4 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 1,3,6,10 ต.นาโหนด) รับรองมอบรางวัลประกาศฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะได้รับการรับรอง จำนวน 1หมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชน 80 คน มีความรู้ความเข้าใจปัญหาขยะในชุมชนและตระหนักในการจัดการขยะในครัวเรือนของตัวเอง
2.ประชาชน จำนวน 80 คน มีพฤติกรรมคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลง
3.มีหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะ จำนวน 1 หมู่บ้าน


>