กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดเกษตรกร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านนาโหนด

1.นางจันทรืจิรา แก้วหนู
2.นางสุดสวาท บุญรุ่ง
3.นางอุบลแก้วงาม
4.นายสุรศักดิ์ พิศพักตร์
5.นายผัน คงวงค์

ม.1,3,6,10 ต.นาโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมี (คน)

 

150.00

ด้วย ในพื้นที่หมู่ที่1,3,6 และ 10 ตำบลนาโหนด มีประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ และมีการใช้สารเคมีในการประกอบการ โดยเป็นผู้ฉีดพ่นและสัมผัสสารเคมีเองโดยตรง ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวซึ่งในปี 2563 ได้มีการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร พบว่ามีเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มไม่ปลอดภัย เป็นปัญหาสุขภาพของประชาชน จำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองอย่างต่อเนื่องดังนั้น ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงได้จัดทำโครงการตรวจหารสาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดเกษตรกร เพื่อให้ประชาชนที่มีอาชีพเกษตรในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจหารสาสารเคมีตกค้างในเลือด และเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงการใช้เคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมีชนิดต่าง ๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจหาสารเคมีและโลหะหนักตกค้างในกระแสเลือดแก่เกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมี

เกษตรกรกลุ่มผู้สัมผัสสารเคมีได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด (คน)

150.00 150.00
2 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มผู้สัมผัสสารเคมี มีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสารเคมี และใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้อง

เกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมี มีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสารเคมีชนิดต่าง ๆและใช้สารเมคีได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

150.00 120.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เกษตรผู้สัมผัสสารเคมี 150

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองเกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองเกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหารสาสารเคมีตกค้างในเลือดฯ สรุปผลการคัดกรอง
ค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าแถบตรวจสารเคมีในเลือด จำนวน 2 กล่องๆ ละ 950 บาท กล่องละ 100 ชิ้น เป็นเงิน 1,900 บาท
2.ค่าเข็มเจาะเลือด บรรจุ 200 ชิ้น จำนวน 1 กล่องๆ ละ 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท
3.ค่าทิ้วสำหรับตรวจเลือด จำนวน 2 กล่องๆ ละ 350 บาท (100ชิ้น) เป็นเงิน700บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
เกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมี ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดจำนวน150 คน
ผลลัพธ์
เกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมีทีมีสารเคมีและโลหะหนักอยู่ในกระแสเลือดปริมาณที่สูงจะได้รับการแนะนำรักษาร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้อันตรายจากสารเคมีตกค้างแก่เกษตรผู้สัมผัสสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้อันตรายจากสารเคมีตกค้างแก่เกษตรผู้สัมผัสสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้อันตรายจากสารเคมีตกค้างแก่กลุ่มเป้าหมายค่าใช้จ่ายประกอบด้วย
1.ค่าจ้างถ่ายเอกสาร 150 ชุดๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,500บาท
2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆ ละ 20 บาท จำนวน 150 คน เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
เกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมี มีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
ผลลัพธ์
เกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมี รู้จัดใช้สารเคมีที่ถูกต้องและเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนเกษตรกรกลุ่มผู้สัมผัสสารเคมี ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดจำนวน150 คน
2.เกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมีที่มีสารเคมีและโลหะหนักอยู่ในกระแสเลือดปริมาณที่สูงจะได้รับการแนะนำรักษา ร้อยละ 100
3.เกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมีใช้วิธีธรรมชาติต่อการกำจัดศัตรูพืชแทนสารเคมีเพิ่มขึ้น
4.เกษตรกรผู้สัมผัสสารเคมีเลือกที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษมากขึ้น


>