กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจร้านขายของชำ ร้ายขายอาหารสด โรงอาหาร ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านนาโหนด

1.นางจันทรืจิรา แก้วหนู
2.นางสุดสวาท บุญรุ่ง
3.นางอุบลแก้วงาม
4.นายสุรศักดิ์พิศพักตร์
5.นายผัน คงวงค์

หมู่ที่ 1 3 6 10 ตำบลนาโหนดอ.เมือง จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หมู่บ้านยังมีร้านค้าในชุมชน นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน (ร้าน)

 

19.00
2 ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร ไม่ผ่านมาตรฐาน CLEAN FOOD GOOD TASTE) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

15.00

กระทรวงสาธารณสุขดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและสนับสนุนเศรษฐกิจไทย “CLEAN FOOD GOOD TASTE” อาหารสะอาดรสชาติอร่อย โดยคณะ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านนาโหนดได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเป็นภารกิจที่สำคัญจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องใน ปีงบประมาณ 2564 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยได้รับป้ายรับรองมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร (อาหารสะอาดรสชาติอร่อย CLEAN FOOD GOOD TASTE) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของร้านอาหารและแผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการร้านชำ ร้านขายอาหารสด จำนวน 19 ร้าน บางร้านอาจจะนำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ประชาชน ตำบลนาโหนด มีร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารจำนวน 40 ร้าน ที่ผ่านมาตรฐาน ฯ แต่ก็ยังมีร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารอีกหลายร้านที่ยังไม่ผ่านมาตรฐาน CLEAN FOOD GOOD TASTE) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขฉะนั้นปี 2564 จึงต้องดำเนินการต่อเนื่องและคงสภาพของร้านอาหารเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาโรคติดต่อที่เกิดจากน้ำและอาหารเป็นสื่อและผู้สัญจรที่ใช้ถนนเพชรเกษม ผ่านตำบลนาโหนด นิยมบริโภคอาหารจากสถานที่สะอาดและบรรยากาศดีและพึงพอใจรสชาติอาหารในราคาที่เหมาะสม ผู้ประกอบการ ฯจึงต้องตระหนักและจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านขายของชำ ร้านขายอาหารสด

ร้านขายของชำ ร้านขายอาหารสด ได้รับการตรวจ(ร้าน)

19.00 15.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านขายอาหารสด มีความตระหนักและจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ

ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านขายอาหารสด มีความตระหนักและจำหน่ายอาหารที่คุณภาพ (ร้าน)

19.00 15.00
3 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร

ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้รับการตรวจ (ร้าน)

40.00 32.00
4 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร มีความตระหนักและจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ

ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร มีความตระหนักและจำหน่ายอาหารที่คุณภาพ(ร้าน)

40.00 32.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านขายของชำ อาหารสด 19
ร้า่นอาหาร แผงลอย โรงอาหารโรงเรียนโรงอาหาร ศพด. 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการฯ ครึ่งวัน จำนวน 59 คน x 20 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,180 บาท -ค่าจ้างทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์อาหารปลอดภัยในสถานศึกษา/รพ.สต. ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสดมีความรู้ มีความตระหนักในการจำหน่ายอาหารที่คุณภาพ 15ร้าน 2.ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร มีความรู้ มีความตระหนักในการจำหน่ายอาหารที่คุณภาพ 32ร้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1980.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคุณภาพร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคุณภาพร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-สุ่มเก็บ ผัก อาหารสด ตรวจสารปนเปื้อนในร้านขายอาหารสด 2 ครั้ง ส่งตรวจศูนย์วิทยาศาสตร์ตรัง -ตรวจคุณภาพร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด ตามเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
-ติดตามและแนะนำผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผัก อาหารสด ปราศจากสารปนเปื้อน 2.ร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด ได้รับการประเมินผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข 15ร้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ตรวจร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ตรวจร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
-ตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียของร้านขายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารโดยใช้ชุดทดสอบภาชนะสัมผัสอาหารและมือ SI-2
-มอบป้ายอาหารสะอาดรสชาติอร่อย และต่ออายุป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย แก่ร้านที่ผ่านเกณฑ์ติดตามและแนะนำผู้ประกอบการร้านอาหาร จำหน่ายอาหาร โรงอาหาร -ค่าชุดทดสอบ SI-2 จำนวน 6 กล่อง (บรรจุ 50 ขวด) กล่องละ 1,050 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท
-ค่าจ้างทำป้าย CFGT อาหารสะอาดรสชาติอร่อย ขนาด 24 X 32.5 ซม. จำนวน 20 ป้ายๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จนท./ อสม.ออกตรวจร้าน จำนวน 5 คน x 20 บาท x 1 มื้อ x 7 วันเป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข 32 ร้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,980.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้านขายของชำ ร้านขายอาหารสด ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 15 ร้าน
2.ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 32 ร้าน
3.ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านขายอาหารสด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารมีความตระหนักและจำหน่ายอาหารที่คุณภาพ


>