กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเร่งรัด กำจัดโรคเท้าช้างปีงบประมาณ2564 หมู่ที่ 6 บ้านบาโงดุดุง ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเร่งรัด กำจัดโรคเท้าช้างปีงบประมาณ2564 หมู่ที่ 6 บ้านบาโงดุดุง ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

โรงพยาบาลเจาะไอร้อง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis หรือ Elephantiasis)เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลม (Roundworm) ติดต่อโดยทีโดยแมลงเป็นพาหะ คือ ยุง ในประเทศไทยพบพยาธิโรคเท้าช้าง ๒ ชนิด ได้แก่เชื้อ Wuchereriabancrofti ทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พาหะหลัก คือ ยุงลายป่า(Aedesnevius) พบในจังหวัดชายแดนไทย – พม่า ในจังหวัดตากแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลําพูน กาญจนบุรี ราชบุรี ระนอง และ เชื้อBrugiamalayi ทำให้เกิดอาการแขนขาโตมีพาหะหลักคือ ยุงเสือ(Mansoniabonnea) พบทางภาคใต้ของประเทศในจังหวัดสุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช กระบี่ และนราธิวาส สำหรับจังหวัดนราธิวาสโรคเท้าช้างถือเป็นโรคประจำถิ่น มีอัตราความชุกของโรคสูงที่สุดในประเทศไทย และเป็นจังหวัดเดียวที่ยังคงตรวจพบเชื้อพยาธิไมโครฟิลาเรียอยู่ ถึงแม้ว่าองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการกำจัดโรคเท้าช้างไปแล้วในเดือนกันยายน ปี 2560 ก็ตาม แต่เนื่องจาก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส มีแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงที่เป็นพาหะขนาดใหญ่อยู่ และประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดตลอดเวลา จึงมีโอกาสรับเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างได้สูงมากกว่าพื้นที่อื่น จากการดำเนินงานเฝ้าระวังการกลับมาระบาดซ้ำของโรคเท้าช้าง โดยการให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ เข้าดำเนินการเจาะเลือดค้นหา ผู้ติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างด้วยการใช้ชุดตรวจแบบเร็วสำเร็จรูป และทำฟิล์มเลือดหนา ในเขตรับผิดชอบของตนเอง ทำให้มีความครอบคลุม มาตรการที่สำคัญ คือ ๑) การรักษากลุ่มประชากรเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ๒) การรักษาเฉพาะรายโดยการติดตามจ่ายและเจาะโลหิตซ้ำในผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสเลือด ทุก 6 เดือน เป็นเวลา 2 ปี และการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ปรากฏอาการอวัยวะบวมโต ๓) การให้สุขศึกษา – ประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคเท้าช้างอย่างถูกต้อง เพื่อทำให้เกิดความร่วมมือในการรักษา และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องต่อไป
สำหรับพื้นที่หมู่ที่6 บ้านบาโงดุดุง ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นหมู่บ้านเป้าหมายที่เป็นพื้นที่เสี่ยงระบาดโรคเท้าช้าง ซึ่งทางโรงพยาบาลเจาะไอร้อง ได้จัดทำโครงการ เร่งรัดกำจัดโรคเท้าช้างปีงบประมาณ 2564 หมู่ที 6 บ้านบาโงดุดุง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย 2.เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเท้าช้าง

1.ประชาชนในพื้นที่หมู่6 บ้านบาโงดุดุงได้มีการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้าง ร้อยละ60
2.ประชาชนในพื้นที่หมู่6 บ้านบาโงดุดุง ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเข้าถึงการ

60.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 ให้ความรู้เรื่องโรคเท้าช้าง ลักษณะอาการของโรค, สาเหตุของโรค, การรักษาโรค, ภาวะแทรกซ้อนของโรคและ การป้องกันโรคเท้าช้าง โดยแบ่งเป็น 2 วัน วันละ 150 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 ให้ความรู้เรื่องโรคเท้าช้าง ลักษณะอาการของโรค, สาเหตุของโรค, การรักษาโรค, ภาวะแทรกซ้อนของโรคและ การป้องกันโรคเท้าช้าง โดยแบ่งเป็น 2 วัน วันละ 150 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร5ชม.ๆละ600บ.x2วัน =6,000.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1มื้อๆละ50บ.x2 วันx150คน =15,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2มื้อๆละ25บ.x2วันx150คน =15,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนให้ความร่วมมือคัดกรองเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้าง
  2. ลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน
  3. ผู้ป่วยรายใหม่ รับการรักษาได้ทันท่วงที
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่2 เจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้างในประชาชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่2 เจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้างในประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ คนละ25บ.x300คน =7,500บ.-บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด1.2x2.4ม. จำนวน1ป้าย =720บ.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนให้ความร่วมมือคัดกรองเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้าง
  2. ลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน
  3. ผู้ป่วยรายใหม่ รับการรักษาได้ทันท่วงที
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8220.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,220.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนให้ความร่วมมือคัดกรองเจาะเลือดตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้าง
2. ลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน
3. ผู้ป่วยรายใหม่ รับการรักษาได้ทันท่วงที


>