กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคโควิต 2019 (Covid-19)หมู่ที่ 6 บ้านไสเตียน ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อสม.หมู่ที่ 6 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

1. นาง สารี ทองอ่อน
2. นาง พิมจันทร์ มากศรี
3. นาง ละออง สงเกิด
4. นาง สุพรรณี ผุดแป้น
5. นาง อภัทศร หนูแก้ว

หมู่ที่ 6 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา2019(Covid-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งสถานการณทั่วโลกมีผู้ป่วยจำนวน86,896,536รายเสียชีวิต 1,877,316 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาลจำนวน9363 ราย กลับบ้านแล้ว 4521รายเสียชีวิตจำนวน 65ราย ผู้ป่วยรายใหม่305ราย (ข้อมูลจาก: รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019ณวันที่7มกราคม2564)และจากการติดตามดูข้อมูลย้อนหลังสถานการณ์รายวันจะเห็นว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง
การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(Covid-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้คำแนะนำ ซึ่งบางช่วงเวลาที่หมู่บ้านมีกิจกรรมหรือมีงานประเพณีต่างๆที่มีผู้คนมารวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมที่มิอาจจะหลีกเลี่ยงกิจกรรมเล่านั้นได้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันตนเองจากความเสี่ยงที่จะอาจเกิดขึ้นได้กับประชาชนในเขตพื้นที่ของหมู่ที่ 6 ต.ชะมวง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6 ตำบลชะมวงจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคโควิต 2019 (Covid-19) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่

ไม่มีผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา  2019  (Covid-19)  เกิดขึ้นในพื้นที่

100.00 100.00
2 เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ให้พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

ได้รับการสนับสนุนจัดหาวัสดุพอเพียงกับความต้องการ

100.00 100.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคัดกรองไวรัสโคโรนา  2019  (Covid-19)  เมื่อมีการทำกิจกรรมในพื้นที่ทุกครั้ง

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 566
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์การควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์การควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่มีผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา  2019  (Covid-19)   เกิดขึ้นในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ในช่วงที่มีกิจกรรมในหมู่บ้านหรืองานประเพณีต่าง ๆ ที่มีประชาชนมาร่วมปริมาณมาก

ชื่อกิจกรรม
การเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ในช่วงที่มีกิจกรรมในหมู่บ้านหรืองานประเพณีต่าง ๆ ที่มีประชาชนมาร่วมปริมาณมาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดซื้อหน้ากากอนามัยจำนวน10 กล่องๆ100บาท (กล่องละ50 ชิ้น) เป็นเงิน1,000 บาท
  • จัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิผิวกายแบบดิจิตอล จำนวน1 เครื่องๆ ละ 2000บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
  • จัดซื้อเจลล้างมือแอลกอฮอล์ขนาดขวดละ 450 ซีซี จำนวน 6 ขวดๆละ120 บาทเป็นเงิน 720 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับการสนับสนุนจัดหาวัสดุพอเพียงกับความต้องการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 3,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไวรัสโคโรนา2019(Covid-19)
2. ประชาชนได้รับการเฝ้าระวังการควบคุมโรคไวรัสโคโรนา2019(Covid-19)อย่างต่อเนื่อง
3. มีการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบชัดเจนและมีประสิทธิภาพ


>