กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนผู้สูงอายุ กีรออาตีส่งเสริมสุขภาพ ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลสะเอะ

นายอาแซ ดีสะเอะ
นายดอรอพา หะมะ
นางสากีเราะ วาแม็ง
นายรอฮีหม๊ะ สีเด๊ะ
นายมนัสรีดอเลาะ

ศูนย์พัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลสะเอะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)

 

163.00

ประเทศไทยได้เข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2548 กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ อันเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้ผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัวต้องแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยางขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเบป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ความพิการหรือทุพพลภาพนอกจากนี้ สภาพครอบครัวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จากที่มีคนหลายรุ่น อยู่ในครัวเดียวกัน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่กันตามลำพัง ขาดผู้ดูแล และอาจเกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย สถานการณ์ของผู้สูงอายุไทย จึงน่าวิกต การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่นๆของรัฐ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้มีบทบบาทสำคัญได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีภารกิจโดยตรงในการดูแลผู้สูงอายุรวมทั้งส่งเสริมสนับสนุน และสแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดภูมิปัญยา หรือการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ซึ่งเป็ฯการยกระดับการจัดสวัสดิการสำรหับผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และชุมชนประจักษ์ในศักยภาพและพลังของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ซึ่งเป็นแผน 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนทุช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ภายใต้ยุทธศาสร์ที่ 1 การเริมสร้าและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ และพัฒนาระบบการดูแลและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุและกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชน มีอำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ โดยเฉพาะด้านสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาสทั้งการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล รวมทั้งการพัฒนาสังคมด้านต่างๆ จึงสามารถทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการในทุกๆด้านให้แก่พี่น้องประชาชนได้ยอ่างทั่วถึง
จากโครงสร้างพื้นฐานระบบข้อมูล (TCNAP) ข้อมูลด้านผู้สูงอายุตำบลสะเอะ มีประชากรทั้งหมด 7,583 คน มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน537คนคิดเป็นร้อยละ7.08และผู้เตรียมพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จำนวน 609 คน คิดเป็นร้อยละ 8.03ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุ 434ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ28.31จำนวนผู้สูงอายุไม่มีอาชีพ 116 คน คิดเป็นร้อยละ 223.36ผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรัง จำนวน 163 คน คิดเป็นร้อยละ 31.84 คน สภาวะเจ็บป่วยเรื้องรังผู้สูงอายุในปัจจุบัน ป่วยไปไหนมาไหนได้ 78.33 ป่วยอยู่กับบ้าน ไปไหนมาไหนไม่ได้และป่วยนอนติดเตียง 26 คน คิดเป็นร้อยละ 22
ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ ต.สะเอะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีร่างกายที่แข็งแรงมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ให้เป็นภาระแก่ครอบครัว สามารถลดการพึ่งพาหรือภาระแก่ครอบครัว มีประโยชน์และคุณค่าทางสังคม จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ กีรออาตีส่งเสริมสุขภาพ ประจำปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมให้กับผู้สูงอายุทำกิจกรรมร่วมกันและเสริมสร้างความเข้มแข็งและพื้นที่ความสุข

มีการรวมกลุ่ม/ชมรมอย่างน้อย 2 กลุ่ม

6.00 2.00
2 เพื่อส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญา/สมุนไพรท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ

มีผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในท้องถิ่น

5.00 3.00
3 ส่งเสริมการออกกำลังกาย

มีการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

1.00 1.00

ผู้สูงอายุ อายุ60 ปีขึ้นไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมวางแผน/จัดหาพัสดุ/ติดตาม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมวางแผน/จัดหาพัสดุ/ติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000.- บาท -ค่าเอกสาร วัสดุเครื่องเขียน อุปกรณ์เป็นเงิน 5,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ ผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการออกกำลังกายทุกเช้าเวลา 08.30-09.00น. ก่อนเข้าห้องเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฝึกอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1หมวดสังคม จำนวน 3 ชั่วโมง (1 วัน) รายละเอียดวิชา1.การใช้ชีวิตในวัยผู้สูงอายุ 2.การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน - ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง.x 600 บาท = 1,800.-บาท - ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ60 บาท60 คน = 3,600.- บาท - ค่าอาหารว่าง1 มื้อๆ 30 บาท 60 คน =1,800.- บาท รวม7,200.-บาท 3.2 หมวดสุขภาพ จำนวน 6 ชั่วโมง (2 วัน) รายละเอียดวิชา 1.สุขภาพกาย (3 อ) 2.การดูแลสุขภาพช่องฟัน3. สุขภาพใจ4.ปฏิบัติการจัดทำอุปกรณ์ออกกำลังกาย - ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง.x 600 บาท = 1,800.-บาท - ค่าอาหาร 2 มื้อๆละ60 บาท60 คน = 7,200.- บาท - ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆ 30 บาท 60 คน =3,600.- บาท - ค่าวัสดุทำอุปกรณ์ออกกำลังกาย= 2,000.- บาท รวมเป็นเงิน14,600.- บาท 3.3 หมวดสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาพและวัยผู้สูงอายุ จำนวน 3 ชั่วโมง (1 วัน) รายละเอียดวิชา การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ - ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง.x 600 บาท = 1,800.-บาท - ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ60 บาท60 คน = 3,600.- บาท - ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆ 30 บาท 60 คน =1,800.- บาท รวมเป็นเงิน7,200.- บาท 3.4 หมวดวิถีศาสนากับสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมง (1 วัน) รายละเอียดวิชา 1.การนำหลักศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน2.การออกกำลังกายในวิถีอิสลาม - ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง.x 600 บาท = 1,800.-บาท - ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ60 บาท60 คน = 3,600.- บาท - ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆ 30 บาท 60 คน =1,800.- บาท รวมเป็นเงิน7,200.- บาท 3.5 หมวดนันทนาการและการส่งเสริมสุขภาพจิต จำนวน 3 ชั่วโมง (1 วัน) รายละเอียดวิชา 1.กิจกรรมการฝึกอ่านทำนองบันซันญี2.กิจกรรมเข้าจังหวะ - ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง.x 600 บาท = 1,800.-บาท - ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ60 บาท60 คน = 3,600.- บาท - ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆ 30 บาท 60 คน =1,800.- บาท รวมเป็นเงิน7,200.- บาท 3.6 หมวดเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมง (1 วัน) รายละเอียดวิชา สมุนไพรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร - ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง.x 600 บาท = 1,800.-บาท - ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ60 บาท60 คน = 3,600.- บาท - ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆ 30 บาท 60 คน =1,800.- บาท - ค่าวัสดุฝึก 3,400.- รวมเป็นเงิน10,600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการดูแลสุขภาพ การป้องกันแก้ไขปัญหาทุพพลภาพ 2.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี ปราศจากภาวะซึมเศร้า 3.เกิดแกนนำในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือส่งต่อความรู้ ส่งเสริมกำลังใจให้กับผู้สูงอายุอื่นๆในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54000.00

กิจกรรมที่ 4 .กิจกรรมฝึกการอ่านอัลกุรอ่านด้วยระบบกีรออาตี 12 ชั่วโมง(7 วัน)

ชื่อกิจกรรม
.กิจกรรมฝึกการอ่านอัลกุรอ่านด้วยระบบกีรออาตี 12 ชั่วโมง(7 วัน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกการอ่านอักขระคำภีย์อัลกุรอ่านถามวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นหลักสูตรกีรออาตี ในการใช้ช่องปาก ช่องท้อง ช่องลมตลอดจนการใช้สายตาเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและใจ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้ฝึกอ่านคำภีย์ได้อย่างถูกวิธีและมีความสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ/ประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ/ประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อเข้าใจในหลักสูตรการเรียนการสอนตรงเป้าหมายของโรงเรียนผู้สูงอายุ กีรออาตีส่งเสริมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการดูแลสุขภาพ การป้องกันแก้ไขปัญหาทุพพลภาพ
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ปราศจากภาวะซึมเศร้า
3. เกิดแกนนำในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมผู้สูงอายุ สามารถช่วยเหลือส่งต่อความรู้ ส่งเสริมกำลังใจให้กับผู้สูงอายุอื่นๆในชุมชน


>