กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางกล่ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางกล่ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับ เล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทป้องกันขณะทำงาน กับสารเคมีการสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการ รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลม ทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อน ทันทีเป็นต้น
ตำบลบางกล่ำ เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม และมีการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จากการสำรวจข้อมูลแบบรายงานการดำเนินงานจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชน ประจำปี ๒๕๖๑ พบว่า เกษตรกรที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยแบบประเมินความเสี่ยง (นบก.1-56) มีจำนวน ๑01 คน และจากการเจาะเลือดคัดกรองดด้วยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส พบว่ามีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน 95 คน และมีผลในระดับปลอดภัย 5 คน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ ซึ่งเป็น หน่วยบริการปฐมภูมิ ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อ ดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน ประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การเจาะเลือดตรวจคัดกรอง เพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรก ป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ สารกำจัดศัตรูพืช วิธีการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยตัวเอง การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น การส่งต่อเพื่อพบ แพทย์ และการแนะนำการใช้สมุนไพรลดล้างพิษ การให้คำปรึกษา การตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ที่จำหน่ายชุมชน ฯลฯ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑. เพื่อเป็นแนวทางถ่ายทอดความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การล้างผักเพื่อ ลดสารปนเปื้อน และการใช้สมุนไพรล้างพิษ
๒. เพื่อตรวจคัดกรองเกษตรกรที่มีความเสี่ยงต่อสารกำจัดศัตรูพืช และให้คำแนะนำ / ส่งต่อเพื่อรักษา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ

ชื่อกิจกรรม
โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อร่วมกันกำหนดแผนงานการลงปฏิบัติในพื้นที่ ๒. จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน (Do) ๓.ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ที่สนใจ ทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่โดยกลุ่มอสม. ๔. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรอง ๕. เตรียมการและวางแผนการดำเนินงาน และวิธีการใช้แบบคัดกรอง นบก.1-56 ๖. ดำเนินการคัดกรองและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ที่สนใจตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้าง ๗. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกร  เรื่องเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย และการตรวจหาระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด จำนวน 100 คน (2 รุ่น รุ่นละ 50 คน)     - ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้ จำนวน ๑๐๐ ชุด  เป็นเงิน ๓๐๐ บาท     - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม   เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท     - สื่อความรู้แบบไวนิลขนาด ๑๒๐ ซม. X ๒๔๐ ซม. จำนวน ๒ ชิ้น ๆละ ๔๕๐ บาท  เป็นเงิน ๙๐๐ บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑๐๐ คน ๒ มื้อ ๆละ ๒๕ บาท  เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท     - ค่าอาหารกลางวัน ๑๐๐ คน x ๕๐ บาท x ๑ มื้อ  เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท     - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน ๒ ชั่วโมง ๆละ ๖๐๐ บาทX ๒ ครั้ง  เป็นเงิน ๒,๔๐๐ บาท     - ค่าสมุนไพรสาธิตการล้างพิษ  เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๑๕,๖๐๐  บาท  (เงินหนึ่งหมื่นห้าพันหกร้อยบาทถ้วน)     หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ ๘. สรุปผลและแจ้งผลการตรวจ เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำที่ถูกต้องของการดูแลสุขภาพการประเมินผล  ( Check ) ๙. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงานการปรับปรุง  ( Act ) ๑๐. ปรับปรุง พัฒนาจากผล การดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. กลุ่มเสี่ยงเกษตรกรได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารพิษ ตกค้างในเลือด ร้อยละ ๑๐๐ ๒. เกษตรกรได้รับการตรวจเลือดพบในระดับเสี่ยงและระดับ อันตรายได้รับคำแนะนำและการรักษาโดย สมุนไพร ร้อยละ ๑๐๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>