กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน 1 บ้านห้วยลึก

1.นายเคลิ้ม บัวแก้ว
2.นายบุญเชิญ ทองกาวแก้ว
3.นายประสิทธิ์ ศักดิ์วรเดช
4.นางเสาวภา ชุมแสง
5.นางอาจินต์ ฤทธิ์เทวา

ตำบลดอนทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ตั้งแต่ ปี 2548 คือ มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2563 โดยมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านคน (ร้อยละ 16.2) ในปี 2558 เป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในปี 2583 เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับมหภาค ได้แก่ ผลต่อ GDP รายได้ต่อหัวประชากร การออม การลงทุน งบประมาณของรัฐบาลและการคลัง ผลิตภาพแรงงานและการจ้างงาน และในระดับจุลภาคได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์และบริการด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ ขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน และพึ่งพาตนเองได้น้อยลง เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเสื่อมของร่างกาย และเจ็บป่วยได้ง่าย รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม
จากข้อมูลประชากรกลางปีงานทะเบียนราษฎร์ของอำเภอปากพะยูน ของตำบลดอนทราย ณ เดือน ตุลาคม 2563 มีผู้สูงอายุจำนวน 534 คน คิดเป็นร้อยละ 20.30 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมร้อยละ 16.51 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงคิดเป็นร้อยละ 0.20 ดังนั้น หมู่ที่ 1 บ้านห้วยลึก ตำบลดอนทราย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้สูงอายุ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 80

0.00
2 .เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่มและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่มและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

0.00
3 เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชนโดยใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทย

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลเท้าเบื้องต้นร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5x3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท       เป็นเงิน 9,675 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9675.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแช่เท้าด้วยสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแช่เท้าด้วยสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมุนไพรสำหรับแช่เท้า จำนวน 80 ซองๆละ 40 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
  • ค่ากะละมังแช่เท้า จำนวน 50 ใบๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าผ้าขนหนูเช็ดเท้า จำนวน 50 ผืนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าโลชั่นบำรุงผิว จำนวน 50 ขวดๆละ30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท          เป็นเงิน 8,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,875.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
2. ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค


>