กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนลดเค็ม ลดโรคความดันโลหิตสูงบ้านวังน้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง

รพ.สต.วังยาง

รพ.สต.วังยาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย และร้านค้า

 

64.00

จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและการบาดเจ็บของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ปี พ.ศ 2560 ในส่วนของการบริโภคเกลือ คนไทยส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดว่า สิ่งที่ให้ความเค็มหรือเกลือโซเดียมมีอยู่ในเกลือหรือน้ำปลาเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องปรุงรส เช่น ซอส ผงปรุงรส ผงชูรส รวมไปถึงอาหารกึ่งสำเร็จรูปต่างๆ เช่น บะหมี่-โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ล้วนมีสารให้ความเค็ม (เกลือโซเดียม) เป็นส่วนประกอบ ล่าสุดพบคนไทยบริโภคเกลือโซเดียมเฉลี่ย 4,351.7 มิลลิกรัมต่อวันหรือกว่า 2 ช้อนชา เกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกคือ 2,000 มิลลิกรัมหรือ 1 ช้อนชาต่อวัน และกลุ่มอายุ 25-59 ปี เป็นกลุ่มอายุที่กินเค็มมากที่สุด โดยการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 2 ที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง นำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ที่มีแนวโน้มเพิ่งสูงขึ้น ซึ่งโรคดังกล่าวป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคลดหวาน มัน เค็ม
ในชุมชนบ้านวังน้ำ หมู่ 4 ตำบลวังยาง มีผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังจำนวน 8 คน มีผุ้ป่วยโรคเบาหวาน 44 คน โรคความดันโลหิตสูง 114 คน และมีประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน เสี่ยงความดันโลหิตสูง และเสี่ยงโรคไตอีกจำนวนหนึ่งด้วย โดยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ จากการบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย ไม่ปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. (ออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ สุรา สูบบุหรี่) ทำให้มีภาวะอ้วนลงพุง ปัญหารอบเอวเกินและขาดการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคประจำปี จึงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา ส่งในทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
จากโครงการชาวชุมชนคนไทดำวังน้ำส่งเสริมการดูแลสุขภาพเพื่อหลีกเลี่ยงโรคไม่ติดต่อ ปี 2563 ในการจัดทำโครงการได้ให้ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบทดสอบก่อน-หลังการอบรมและแบบประเมินความเสี่ยงนคร 2 ส.และตรวจค่าการกรองของไต (eGFR) ของผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน และในปีงบประมาณ 2564 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยางจึงจัดทำโครงการชุมชนลดเค็ม ลดโรคความดันโลหิตสูงบ้านวังน้ำ เพือคนข้อมูลจากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมและแบบประเมินความเสี่ยง นคร 2 ส. และผลการตรวจค่าการกรองของไต (eGFR) ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน และได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารจึงมีการเชิญชวนร้านค้าจำนวน 4 ร้าน ในหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการด้วย การส่งเสริมประชาชนในหมู่บ้นให้ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเกลือ ออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดรวมทั้งไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุราได้นั้นจะช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยางเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นโดยการป้องกันให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแตนเองเพื่อไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วยและเพื่อให้กลุ่มป่วยสามารถควบคุมอาการตนเองและลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้โดยการดำเนินงานโดยภาคีเครือข่ายในระดับต่างๆ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและสามารถขยายแนวทางการดำเนินงานให้กับหมู่บ้านอื่นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงในชุมชนบ้านวังน้ำ 2. เพื่อลดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยในชุมชนบ้านวังน้ำ 3. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงระบบบริการ/การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยในพื้นที่ชุมชนบ้านวังน้ำ 4.เพื่อส่งเสริมความรู้การปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. 5.เพื่อให้หมู่บ้านเป็นตัวอย่าง หมู่บ้าน ลดเค็ม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ

1.ลดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวน 10 คน 2.มีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรมมอาหารมากขึ้นจำนวน 10 คน

64.00 52.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการชุมชนลดเค็ม ลดโรคความดันโลหิตสูงบ้านวังน้ำ

ชื่อกิจกรรม
โครงการชุมชนลดเค็ม ลดโรคความดันโลหิตสูงบ้านวังน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สร้างความเข้าใจ ความตระหนักรู้ (Awareness)
    • ประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงาน/ ที่ปรึกษา ระดับชุมชน ฯ- ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มและอาหารกลางวัน
      ค่าอาหารว่าง 25 บาท X 15 คน X 2 มื้อ 750 บาท ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x15 คน x 1 มื้อ750 บาท รวม 1,500บาท
  2. คืนข้อมูลสุขภาพสร้างความรู้และความตระหนัก แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย และร้านค้าในชุมชน อบรมให้ความรู้การปรับสูตรอาหารลดเค็ม ลดโซเดียม สร้างความรู้การปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามพฤติกรรม 3 อ.2ส. ประเมินพฤติกรรมการกินอาหารรสเค็มตรวจประเมินระดับความเค็มของอาหารที่รับประทานประจำวันโดยใช้เครื่องมือ Salt meter- ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มและอาหารกลางวัน
    ค่าอาหารว่าง 25 บาท X 64 คน X 2 มื้อ3,200 บาท ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x64 คน x 1 มื้อ3,200 บาท

- ค่าวิทยากร 600 บาท x 4 ชม.2,400 บาท

รวม 8,800บาท การปรับสูตรอาหาร(Reformulation) เพื่อลดการบริโภคเกลือและโซเดียมการใช้เครื่องมือวัดความเค็ม (salt meter) เพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนกลับ (Biofeedback) 3. ประกวดเมนูชูสุขภาพ เมนูลดเค็ม การปรับสูตรอาหารประเมินติดตามภาวะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
ตรวจสุขภาพวัดระดับความดันโลหิต ประเมินการบริโภคเกลือโซเดียม เจาะเลือดเพื่อหาการกรองของไต(eGFR) จำนวนทั้งหมด 64 คนและคืนข้อมูลให้กับชุมชน - ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มและอาหารกลางวัน
ค่าอาหารว่าง 25 บาท X 64 คน X 2 มื้อ3,200 บาท ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x64 คน x 1 มื้อ3,200 บาท
- ค่าวิทยากร 600 บาท x 4 ชม.2,400 บาท -ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่เจาะเลือด 600บาท x 3คน1,800 บาท รวม 10,600บาท 4 วัสดุ/อุปกรณ์
ค่าป้ายโครงการ ขนาด กว้าง 100 ซม.ยาว 400 ซม.จำนวน 1 ผืน
600 บาทx1 ผืน600 บาท
รวม 600 บาท ค่าชุดเล่มเอกสารผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 64 ชุด 25บาทx 64 ชุด 1,600 บาท
รวม 1,600 บาท เป็นเงิน 23,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2021 ถึง 31 สิงหาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 เกิดชุมชน ลดโรค ลดภัยสุขภาพ อย่างยั่งยืน 2 ร้านค้า/ร้านอาหารในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเมนูอาหารลดเค็ม ลดโซเดียม
3 กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมสามารถอ่านค่าโซเดียม และคำนวณโซเดียมที่ควรบริโภคต่อวันของตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 เกิดชุมชน ลดโรค ลดภัยสุขภาพ อย่างยั่งยืน
2 ร้านค้า/ร้านอาหารในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเมนูอาหารลดเค็ม ลดโซเดียม
3 กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมสามารถอ่านค่าโซเดียม และคำนวณโซเดียมที่ควรบริโภคต่อวันของตนเองได้


>