กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า (covic 19) ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า (covic 19) ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว.นอก

หมู่ 9 บ้านราษฎร์พัฒนา หมู่ที่ 10 บ้านสามซอย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นไวรัสข้ามสายพันธุ์ที่สันนิษฐานว่าเกิดจากค้างคาวมาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดในมณฑลอู่ฮั่นของประเทศจีนในช่วงปลายปี ค.ศ.2019 จนกระทั่งมีการระบาดไปยังประเทศอื่นๆทั่วโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก ขณะเดียวกันประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ลำดับที่ 14 เพื่อให้สามารถใช้ข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค สามารถควบคุมโรคได้มีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม ปัจจุบันการระบาดขยายเป็นวงกว้างไปหลายประเทศทั่วโลก
ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ข้อมูลการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ณ วันที่ 2 มกราคม 2564 (เวลา 12.00 น.) ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 7,379 ราย ผู้ป่วยรายใหม่ 216 ราย รักษาหาย 4,299 ราย เสียชีวิต 64 ราย และจังหวัดนราธิวาส พบผู้ป่วยยืนยัน 44 ราย ผู้ป่วยรายใหม่ 0 ราย รักษาหาย 41 ราย เสียชีวิต 2 ราย ส่วนอำเภอสุคิริน มีผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 2 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2563 )
การป้องกันการติดเชื้อสามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 การสัมผัสกับผู้ป่วย หรือผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากสงสัยว่าตนเองอาจจะได้รับเชื้อควรแยกสังเกตอาการอย่างน้อย 14 วัน ขณะแยกสังเกตอาการต้องงดการเดินทางหรืออยู่ในที่ที่มีคนหนาแน่น งดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีการบูรณาการทุกภาคส่วน เครื่องมือ ทรัพยากรและงบประมาณเพื่อสนับสนุนบทบาทของภาคีเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนยกระดับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้มีความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว สังคม และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆในการรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 เพราะการรับรู้และบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว.นอก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covic 19)ขึ้น เพื่อสร้างเครือข่ายในการขับเคลื่อนให้ชุมชนสามารถสื่อสารข้อมูลและการป้องกันโรคที่ถูกต้อง สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า 2019 ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ COVID-19 (คน)

ประชาชน มีความรอบรู้ในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจาก การติดเชื้อ COVID-19 ร้อยละ 80

788.00 630.00
2 2. เพื่อให้พื้นที่เป้าหมายเสี่ยง ที่ประชาชนมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน/สถานบริการและสถานประกอบการ /ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีการปฏิบัติตามแนวทาง/มาตรการ/มาตรฐานที่กำหนดตามเกณฑ์ความปลอดภัยจากการติดเชื้อ COVID 19 (แห่ง)
  1. พื้นที่เป้าหมายเสี่ยง ที่ประชาชนมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน/กลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง/สถานบริการและสถานประกอบการ มีการปฏิบัติตามแนวทาง/มาตรการ/มาตรฐานที่ กำหนดตามเกณฑ์ความปลอดภัยจากการติดเชื้อ COVID 19  ร้อยละ 100
11.00 11.00
3 3 เพื่อสร้างความเข็มแข็ง ส่งเสริมสนับสนุน บทบาทของภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ COVID 19 (หมู่)
  1. ภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายในชุมชนร่วมรับผิดชอบกิจกรรมการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ COVID ของหมู่บ้านร้อยละ 90
2.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 9
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1.ดำเนินการในพื้นที่ตำบลมาโมง (หลัง) 214
2.พื้นที่เป้าหมายเสี่ยง (แห่ง) 11

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/02/2021

กำหนดเสร็จ 06/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1.ประชุมทีมอสม.และเครือข่าย ในพื้นที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1.ประชุมทีมอสม.และเครือข่าย ในพื้นที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1) สื่อสารความร่วมมือและสร้างความเข้าใจในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covic 19) 1.2) จัดตั้งทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคฯระดับหมู่บ้าน หมู่บ้าน ละ1ทีม เพื่อให้หมู่บ้านมีการดำเนินการเฝ้า ระวังโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับสถานการณ์ตลอดเวลา 1.3) จัดทำมาตรการการเฝ้าระวัง ตามแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covic 19)
เพื่อเป็นแนว1ทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังควบคุมโรคที่ถูกต้อง ตามหลักวิชาการการระบาด 1.4) สอบถามปัญหา พร้อมสำรวจจำนวนความต้องการใช้เครื่องมือ/วัสดุ ที่จำเป็นต้องใช้ในการป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covic 19) เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน งบประมาณ 1. ค่าวัสดุ -ไวนิลโครงการฯ ขนาด 1x3 เมตรจำนวน1ผืนเป็นเงิน750บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน30 คน x 25 บาท เป็นเงิน750บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.1) ทีมอสม.และเครือข่ายในพื้นที่มีการประชุม สื่อสารความร่วมมือและเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covic 19)จำนวน1ครั้ง 1.2) หมู่บ้านมีทีมเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covic 19) จำนวน2ทีม
1.3) หมู่บ้าน และเครือข่ายในพื้นที่มีมาตรการ แนวทางการปฏิบัติ สามารถดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covic 19)ที่ถูกต้องจำนวน11แห่ง
1.4)หมู่บ้าน และเครือข่ายในพื้นที่ มีเครื่องมือ/วัสดุ พร้อมใช้ในการปฏิบัติงาน การป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covic 19) เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2.สำรวจข้อมูลพื้นฐานพื้นที่เป้าหมายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2.สำรวจข้อมูลพื้นฐานพื้นที่เป้าหมายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1) พื้นที่เป้าหมายเสี่ยง ที่มีประชาชนมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน -ศพด.1แห่ง รร.ตาดีกา1แห่ง มัสยิด1แห่งกลุ่มออมทรัพย์2แห่งร้านชำ6ร้าน 2.2) ประชากรกลุ่มเสี่ยงรวมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน ดังนี้ -กลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง จำนวน 41 คน (หมู่ 9 ราษฎร์พัฒนา 16 คน , หมู่ 10 สามซอย25คน) -กลุ่มหญิงตั้งครรภ์จำนวน 9 คน
(หมู่ 9 ราษฎร์พัฒนา 2 คน , หมู่ 10 สามซอย7คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2564 ถึง 3 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนพื้นที่เป้าหมายในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covic 19)  จำนวน  11  แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3.พื้นที่เป้าหมายเสี่ยงประเมินตนเองตามมาตรการ การเฝ้าระวังการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรน่า (covic 19)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3.พื้นที่เป้าหมายเสี่ยงประเมินตนเองตามมาตรการ การเฝ้าระวังการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรน่า (covic 19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1)พื้นที่เป้าหมายเสี่ยงประเมินตนเองตามมาตรการ การเฝ้าระวังการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรน่า (covic 19) 3.2)พื้นที่เป้าหมายเสี่ยงดำเนินการปรับปรุงให้ผ่านตามเกณฑ์ข้อกำหนด

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2564 ถึง 5 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พื้นที่เป้าหมายเสี่ยงมีการปรับปรุงและปฏิบัติตามแนวทาง มาตรการ การเฝ้าระวังการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรน่า (covic 19) ผ่านตามเกณฑ์ ประเมิน จำนวน  11  แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4.จัดซื้อ วัสดุ/เครื่องมือ ในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4.จัดซื้อ วัสดุ/เครื่องมือ ในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อ วัสดุ/เครื่องมือ  ในการปฏิบัติงาน เฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรค และสนับสนุนให้แก่ พื้นที่เป้าหมายเสี่ยง/ประชากรกลุ่มเสี่ยง
1.ค่าวัสดุ    - หน้ากากอนามัย           จำนวน 50 กล่อง  X 125 บาท   เป็นเงิน      6,250   บาท    - เจลแอลกอฮอล์  ขนาด 450 ml จำนวน 20 ขวด   X 250 บาท    เป็นเงิน      5,000   บาท
   - โทโมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิทัล       จำนวน  5 เครื่อง  X 3,000 บาท  เป็นเงิน   15,000   บาท      (สนับสนุน/หมู่บ้าน/มัสยิด/ศพด/ตาริกา)

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2564 ถึง 19 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หมู่บ้านและเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ มีเครื่องมือและวัสดุ พร้อมใช้ในการควบคุมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (covic 19) จำนวน2หมู่บ้าน ประชาชนกลุ่มเสี่ยง (โรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ) จำนวน50คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26250.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5สร้างเครื่องมือ เพื่อประเมินความรู้และพฤติกรรมในการ ป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า 2019

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5สร้างเครื่องมือ เพื่อประเมินความรู้และพฤติกรรมในการ ป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างเครื่องมือ เพื่อประเมินความรู้และพฤติกรรมในการ ป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า 2019
1.ค่าวัสดุ    -กระดาษ A4  จำนวน  5  รีม X 145 บาท          เป็นเงิน      725  บาท    -ปากกาลูกลื่น จำนวน  2  โหล X60 บาท                             เป็นเงิน    120  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2564 ถึง 24 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมในการ ป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า 2019 จำนวน 630 ชุด แบบประเมินแบบทดสอบด้านสุขภาพจิต โควิค 19 สำหรับประชาชน ผู้ป่วย ญาติ โดยใช้แบบประเมินของ กรมสุขภาพจิตจำนวน 630 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
845.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมที่ 6.ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคฯระดับหมู่บ้าน ลงสำรวจและประเมินโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 6.ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคฯระดับหมู่บ้าน ลงสำรวจและประเมินโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคฯระดับหมู่บ้าน สำรวจ ประเมินความรู้และพฤติกรรมการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค(covic 19)

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 23 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมที่ 7. สรุปผลการประเมิน/คืนข้อมูลให้ประชาชนทราบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 7. สรุปผลการประเมิน/คืนข้อมูลให้ประชาชนทราบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 4 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมที่ 8.ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคฯระดับหมู่บ้าน ดำเนินการเฝ้าระวังตามมาตรการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 8.ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคฯระดับหมู่บ้าน ดำเนินการเฝ้าระวังตามมาตรการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2564 ถึง 9 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีมและเครือข่ายชุมชน มีการดำเนินการเฝ้าระวังควบคุมโรคฯ ตามมาตรการ ครอบคลุมตามจำนวนสถานที่ที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมที่ 9.สรุปรายงาน ประเมินผลโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 9.สรุปรายงาน ประเมินผลโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มิถุนายน 2564 ถึง 29 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานผลการจัดทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,595.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชน และภาคีเครือข่าย มีความรอบรู้ ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า 2019
2.ภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายในชุมชน สามารถดำเนินการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ COVID 2019ได้อย่างมีประสิทธิภาพและร่วมรับผิดชอบสังคมร่วมกัน


>