กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมควบคุมโรคระบาดที่เป็นปัญหาในชุมชน ต.วังยาง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง

อาสาสมัครสาธารณสุข

นายสุขสามงามเอี่ยม

พื้นที่ทั้ง 9 หมู่ในตำบลวังยาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคติดต่อมีแนวโน้มที่จะพบโรคระบาดบ่อยขึ้น ความรุนแรงเพิ่มขึ้น และมีโรคชนิดใหม่ๆ มากขึ้นเช่น ไวรัสCOVID-19 เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ประชาชนจึงอาจติดโรคง่ายขึ้น แต่ป้องกันโรคยากกว่าเดิม การคมนาคมสะดวกรวดเร็วขึ้น ทั้งถนนหนทางที่ทันสมัย ทำให้เชื้อโรคสายพันธ์ใหม่จากต่างประเทศ สามารถเข้าถึงหมู่บ้านเล็กๆ ได้ ภายในไม่กี่วันตำบลวังยาง อ.คลองขลุง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคติดต่อทุกปี ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออก ซึ่งในปี 2559 มีจำนวน 4 ราย ในปี 2560 จำนวน 2 ราย และเสียชีวิต 1 ราย และในปี 2561 จำนวน 14 ราย และในปี 2562 จำนวน 14 ราย และปี 2563 พบผู้ป่วยสงสัย 5 รายและในปัจจุบันยังเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โดยข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2563 พบผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวนมากกว่า 64 ล้านราย เสียชีวิต มากกว่า 1.4 ล้านคน ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 4,180 ราย พบผู้เสียชีวิต60 รายซึ่งสถานการณ์แต่ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ยังไม่พบผู้ป่วย ซึ่งการเกิดโรคดังกล่าว ทาง ชมรม อสม.ตำบลวังยาง เห็นว่า จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมควบคุมโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเอง และเตรียมวัสดุอุปกรณ์การป้องกัน และวัสดุในการควบคุมโรค หากมีการระบาดของโรค ให้กับ อสม.ผู้ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไปในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเตรียมวัสดุอุปกรณ์การป้องกัน และวัสดุในการควบคุมโรคหากมีการระบาดของโรค ให้กับ อสม.ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ 2.เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ สมาชิก อสม.ตำบลวังยางในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ภายในตำบลวังยาง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และความพร้อมทีมควบคุมโรคติดต่อเคลื่อนที่เร็ว SRRT ตำบลวังยาง ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกเมื่อมีการระบาดในพื้นที่ตำบลวังยาง จำนวน 10 ราย ๆ ละ 2,265 บาท     ดังรายละเอียดดังนี้   - ค่าน้ำมันดีเซลผสมน้ำยากำจัดยุงลายตัวแก่ จำนวน 10 ราย ครั้งละ 15 ลิตร (3ครั้ง/ราย) เท่ากับ 450 ลิตร ๆ ละ 23 บาท                                                                                     เป็นเงิน   10,350 บาท    (เกณฐ์ประมาณการใช้น้ำมันโซล่าสำหรับเครื่องพ่นฝ่อยละออง   1 หลังคาเรือนใช้น้ำมัน 250 ซีซี พ่นควบคุมโรค ในรัศมี 100 เมตร มีหลังคาเรือน ประมาณ 60 หลังคาเรือน ใช้น้ำมัน ประมาณ 15 ลิตร ต่อ 1 ครั้ง)
  - ค่าน้ำมันเบนซินสำหรับใส่เครื่องพ่นฝ่อยละอองจำนวน 10 รายครั้งละ 5 ลิตร (3ครั้ง/ราย)เท่ากับ 150  ลิตร ละ 22 บาท                                                                                  เป็นเงิน   3,300  บาท (เกณฐ์ประมาณการใช้น้ำมันเบนซิน   1 หลังคาเรือนใช้น้ำมัน 100 ซีซี พ่นควบคุมโรค ในรัศมี 100 เมตร มีหลังคาเรือน ประมาณ 60 หลังคาเรือน ใช้น้ำมัน ประมาณ 5 ลิตร)
  -ค่าแรงขั้นต่ำถือเครื่องพ่นเพื่อกำจัดยุงลาย  จำนวน 1 วัน/ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง/ราย( 10 ราย/3 ครั้ง) ครั้ง ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 300 บาท/วัน                                                                    เป็นเงิน  9,000   บาท
                                                      รวมเป็นเงิน 22,650 บาท (22,650 /10 = 2,265  บาท/ราย)        2.น้ำยากำจัดยุงสำหรับผสมน้ำมันบรรจุขวด 1 ลิตร จำนวน  6 ขวด ๆ ละ   1,500  บาท
                                                                                                        เป็นเงิน 9,000 บาท                                                 รวมเป็นเงิน  31,650 บาท (สามหมื่นหนึ่งพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทั่วไปมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31650.00

กิจกรรมที่ 2 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ให้ผู้ปฏิบัติงาน     1.1 น้ำยาสำหรับฆ่าเชื้อโรค (ชนิดผสมน้ำ) บรรจุขวด 1 ลิตร จำนวน 6 ขวด ๆ     ละ         800  บาท
                                                                                                       เป็นเงิน 4,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แบบรายงานการป้องกันโรคและรายงานการเกิดโรคติดต่อ ประจำปี 2564

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.ในพื้นที่ตำบลวังยาง มีวัสดุใว้ใช้ในการควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นได้
2. การดำเนินงานในการควบคุมโรคติดต่อ ของ อสม.เป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>