กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงใน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโลย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงใน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโลย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโลย

น.ส.ไซนุงสาเมาะ
น.ส.นาซีล๊ะ ดาโอะ
นางนูรฮายาตี มาหม๊ะ
น.ส.ไซนะ อาแว
น.ส.ฟารีด๊ะเตะ

ตำบลบาโลยอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

29.90
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

29.90

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สมารถควบคุมได้
เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วนความเครียด
ขาดการออกกำลังกายการบริโภคอาหารไม่ถูกส่วน การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ถ้าหากประชาชน
ไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่มากขึ้น คือ 35 ปี ขึ้นไป
ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้
ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต
หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
ในกลุ่มประชากรอายุ35ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ตำบลบาโลย อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 1,656 ราย ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
จำนวน 1,010 รายตรวจพบประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
จำนวน 302 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.90 ต่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดจะเห็นว่าสัดส่วนกลุ่มเสี่ยง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน
โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพรวมทั้งสามารถประเมิน
และแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนเพื่อป้องกัน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ตำบลบาโลย อำเภอยะหริ่งปี 2564 ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

29.90 10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

29.90 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 125
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอุปกรณ์/เครื่องทางการแพทย์เพื่อทำ HMBP หมู่ละ 1 เครื่องๆ ละ 2,500 บาท
    จำนวน 4 หมู่บ้าน เป็นเงิน 10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ มากกว่า 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มากกว่า ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้แกนนำ และ กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้แกนนำ และ กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 125 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 6,250 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 125 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 6,250 บาท
  3. ค่าป้ายโครงการฯ (ไวนิล) ขนาด 1 x 3 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท
  4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  5. ค่าวัสดุในการจัดอบรม จำนวน 125 คนๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนนำ และประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง
เพื่อป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21850.00

กิจกรรมที่ 3 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน ของ พชต.

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน ของ พชต.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดข้อตกลงร่วม
สภาวะพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค
สามารถประเมินและแก้ไขภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
2. แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง
4. อัตราการตรวจพบโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงของประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปลดลง


>