กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชน ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มโรคเบาหวาน โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชน ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มโรคเบาหวาน โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา

ตำบลตันหยงจึงงา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

18.24
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

24.16

องค์การอนามัยโลก(WHO) เล็งเห็นว่ากลุ่มโรค NCDs นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
โดยสาเหตุหลักของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากพฤติกรรม อาทิขาดการออกกำลังกาย
สูบบุหรี่กินอาหารไม่เหมาะสม เช่น อาหารหวาน มัน เค็ม กินผักน้อยลงเกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้
เช่น กรรมพันธุ์ปัจจุบันยัง พบว่า สาเหตุการตายส่วนใหญ่ของคนไทยเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
มากถึงร้อยละ 60 เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็งซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว
แล้วจำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต(คนไทยกินยาสูงถึงปีละ 47,000 ล้านเม็ด หรือเฉลี่ยวันละ 128 ล้านเม็ด)
หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบตำบลตันหยงจึงงา อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ในปีงบประมาณ 2564 กลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน 740 ราย
ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 705 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.27 ตรวจพบประชาชน
กลุ่มเสี่ยง จำนวน 135 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.24 และกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน
จำนวน 20 รายคิดเป็นร้อยละ 2.70และกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง จำนวน 629 ราย
ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน 601 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.54 ตรวจพบประชาชนกลุ่มเสี่ยง
โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 152 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.16 และกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการป่วย
เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.13 ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน
โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ
รวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนเพื่อป้องกัน
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลตันหยงจึงงา อำเภอยะหริ่ง
ปี 2564 ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป
และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่อาจจะตามมาภายหลังหากไม่มีการควบคุมที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นเบาหวานลดลง

18.24 10.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้

24.16 40.00
3 เพื่อสร้างแกนนำในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในชุมชน

มีแกนนำในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคความดันและเบาหวานในชุมขน(คน)

22.00 50.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลด

24.16 24.16

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจวัดไขมันในร่างกายวัดและตรวจดัชนีมวลกาย
วัดส่วนสูง,วัดความดันโลหิต, วัดรอบเอว, วัดรอบสะโพก, เจาะน้ำตาลในเลือด
และทำแบบสัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/
ความดันโลหิตสูง เพื่อทดสอบความรู้และประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ
- ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตเพื่อติดตาม จำนวน 2 เครื่องๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อติดตามจำนวน 2 เครื่องๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 100
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค / การปฏิบัติตัวโรคเบาหวาน
    และความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  • ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรค
  • สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
  • ให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตและการจัดการความเครีย
  • ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม
  • ทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรม

งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 2 รุ่นๆละ 50 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 รุ่นๆละ 50 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 2 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท
- ชุดโมเดลอาหารแลกเปลี่ยน จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
    มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค
    สามารถประเมินและแก้ไขภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
    ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17500.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประชาชนกลุ่มเสี่ยง 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประชาชนกลุ่มเสี่ยง 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามระดับความดันโลหิต,ระดับน้ำตาลในเลือด,BMI,รอบเอว
  2. ติดตามพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีภาวะเสี่ยงทางสุขภาพลดลง
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมิน
และแก้ไขภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
2. แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
มีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง
4. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง


>