กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ มารดา และทารกหลังคลอด ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไป ก็มีปัจจัยร่วมหลายๆ อย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการรักษาสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเอง การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการเอาใจใส่สุขภาพช่องปากนอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน
เป้าหมาย ทันตสุขภาพระยะยาวของประเทศไทย ระบุไว้ว่า คนไทยมีสุขภาพช่องปากดี บดเคี้ยวได้ อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ทุกช่วงวัยของชีวิต การที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาวได้นั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็กหรือเริ่มตั้งแต่ระยะฟันน้ำนมเริ่มขึ้น การที่สุขภาพปากสุขภาพช่องปากที่ดีมีความสำพันธ์กับสุขภาพร่างกายการดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี จึงมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพในช่องปากนั้นไม่ได้เกิดจากสาเหตุภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นฟันได้รับการดูแลรักษาอย่างดีตั้งแต่ในวัยเด็ก เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพปากและฟัน สามารถใช้งานได้ครบทั้งปาก ไม่มีโรคในช่องปาก และไม่มีความเจ็บปวดในช่องปาก
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลานเห็นถึงความสำคัญ ของงานทันตสุขภาพ หากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพและสุขภาพช่องปากแก่เด็กตั้งแต่ช่วงปฐมวัยในรูปแบบที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพปากและฟัน อาจจำทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากนั้นลดน้อยลง และคนในสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนก็จะมีสุขภาพฟันที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่1เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ ในการดูแลแนะนำหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดได้ถูกต้อง
ข้อที่2เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด
ข้อที่3 เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์ รายใหม่และกระตุ้นให้ไปฝากครรภ์เร็วที่สุด ( ท้องปุ๊บฝากปั๊บ)

ข้อที่4เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลและติดตามเยี่ยม

ข้อที่5 เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพเพื่อการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ มารดา และทารกหลังคลอด ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพเพื่อการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ มารดา และทารกหลังคลอด ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ระยะก่อนดำเนินงาน 1.ประชุมคณะทำงาน/อสม. เพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ 2.เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
3.ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ ฯ
ระยะดำเนินงาน
1. สำรวจหญิงตั้งครรภ์ มารดา หลังคลอดในพื้นที่
2. เชิญวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่ หญิงตั้งครรภ์/สามี และอาสาสมัครสาธารณสุขในเรื่องการฝากครรภ์คุณภาพและการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
3.ออกติดตามเยี่ยม / ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดในเรื่องการปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดการเลี้ยงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน ระยะหลังดำเนินงาน 1.ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 2.สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน 1.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบและอนุมัติโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ ไม่ใช่งบประมาณ

พฤศจิกายน 2563 2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดจัดทำทะเบียนของหญิงตั้งครรภ์มารดาและทารกหลังคลอด ไม่ใช้งบประมาณ ตุลาคม 2563 3.ประสานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้เคียงเพื่อขอสนับสนุนวิทยากรในการให้ความรู้ ไม่ใช้งบประมาณ มีนาคม 2564 4.ติดต่อประสานงานผู้เกี่ยวข้องจัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์แบบฟอร์มเอกสารที่จำเป็น ไม่ใช้งบประมาณ มีนาคม 2564 5.กิจกรรมประชาสัมพันธ์ รณรงค์ การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อประโยชน์แก่หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ รณรงค์การฝากครรภ์ จำนวน 9 ชิ้นๆละ 500 บาท= 4,500บาท เมษายน 2564 6.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์/สามี และอาสาสมัครสาธารณสุข ในเรื่อง -ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
-การฝากครรภ์คุณภาพ การปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์ -การดูแลมารดาและทารกหลังคลอด
-การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน80 คน -ค่าวิทยากร..600บาท x6ชม x1วัน =3,600 บาท -ค่าอาหารกลางวัน..50บาท x1มื้อx80คน=4,000 บาท -ค่าอาหารว่าง..25บาท x2มื้อ x80คน =4,000บาท -ค่าวัสดุ/เอกสาร= 1600 บาท7 พฤษภาคม 2564 7.ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์มารดาละทารกหลังคลอดร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ไม่ใช้งบประมาณ ตุลาคม 2563 ถึง กันยายน 2564 (ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้) รวม............17,700...........บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ในการดูแลแนะนำหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดได้ถูกต้องร้อยละ 80 (แบบทดสอบความรู้) หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเอง.ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ร้อยละ 80 (แบบทดสอบความรู้) หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน  12  สัปดาห์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 -หญิงตั้งครรภ์มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการติดตามเยี่ยม ร้อยละ 100 -มารดาและทารกหลังคลอดไม่มีภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 100 -หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพ 5ครั้ง ตามเกณฑ์ร้อยละ80 -หญิงตั้งครรภ์ครรภ์เสี่ยงได้รับการดูแลร้อยละ100 -ทารกแรกคลอดมมีน้ำหนักน้อยกว่า 2500กรัมไม่เกินร้อยละ7

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มอาสาสมัคร หญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอด มีความรู้ในการดูแลตนเองและครอบครัวส่งผลให้มีสุขภาพดีลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยทารกแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า2,500กรัมแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย6 เดือน และเด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย


>