กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครประจำครอบครัว เพื่อคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน ตำบลวังยาง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังยาง

นายสุข สามงามเอี่ยม

รพ.สต.วังยาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขคือ การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง ล่าสุดได้มีการจัดระดมความคิดบูรณาการงานสาธารณสุขมูลฐาน และระบบสุขภาพปฐมภูมิตามระบบสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิแล

 

100.00

นโยบายทางด้านสุขภาพในปัจจุบัตเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ รวมถึงการพัฒนาประชาชนในชุมชนให้มีสุขภาพที่ดี และการมีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่ต้องรับผิดชอบดูแลสุขภาพของตนเองและจาก แผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 4 ได้มีการคัดเลือกและอบรมผุ้ปฏิบัติงานทางด้านงานสาธารณสุขมุลฐานประจำหมู่บ้านขึ้น คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาเข้ามาบริการเพื่อนบ้าน ดูแลรับผิดชอบสุขภาพอนามัยของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น โดยมีความเสียสละเวลาอย่างเต็มเปี่ยม เพื่อให้เกิดการมีสุขภาพในชุมชนและเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2562 นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับ อสม. ให้เป็นหมอประจำบ้าน ให้สามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน โดยให้ อสม.พัฒนาความรู้ใ้ห้ เป็น "อสม.หมอประจำบ้าน" เพื่อพัฒนาศักยภาพ เพื่มขีดความสามารถของ อสม.ให้พีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ควบคุ่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ให้ประชาชนทุกครัวเรือนสามารถเข้าถึงการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง และให้ประชาชนได้รับบริการที่มึคุณภาพ ปลอดภัย ลดความแออัด ลดความเหลื่อมล้ำ ไร้ร้อยต่อ ลดการรอคอย และลดค่าใช้จ่ายรวมถึงการให้ความรู้ด้านสมุนไพร และการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่ถูกต้องแก่ประชาชน กล่าวว่าหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขคือ การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง ล่าสุดได้มีการจัดระดมความคิดบูรณาการงานสาธารณสุขมูลฐาน และระบบสุขภาพปฐมภูมิตามระบบสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูธมิและต่อยอดโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค จึงเกิดเป็นนโยบาย คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งฃาติ (สปสช.) ทั้งนี้ นโยบาย คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน คือ ทุกครอบครัวมี 1 หมอประจำบ้าน คือ อสม. ระดับหมู่บ้านซึ่ง อสม. 1คน จะรับผิดชอบ 8-15 หลังคาเรือน 2. หมอสาธารณสุข คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพยาบาลระดับตำบล โดยบุคลากรสาธารณสุขระบบปฐมภูมิ 1 คนรับผิดชอบประชาชน 1,250 คน และ 3. หมอครอบครัว เป็นแพทย์ที่มีองค์ความรู้หรือจบด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหมอ 1 คนรับผิดชอบประชากร 10,000 คน หรือ 1-3 ตำบล ซึ่งทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังยาง ได้เห็นความสำคัญในประเด็นดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมความรู้ผู้ดูแลสุขภาพระดับหมู่บ้านอสม.พัฒนาสู่การเป็น “อสม.หมอประจำบ้าน” 2.เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ อสม.ให้มีการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3.เพื่อพัฒนา อสม. ปฏิบัติงานร่วมกันเป็น “อสม.หมอประจำบ้าน”อย่างมีคุณภาพในระดับตำบล 4.เพื่อคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน ตำบลวังยาง

1.มีผู้เข้าร่วมอบรมโครงการครบทั้งหมด 100 คน 2.ผู้เข้าอบรมมีความรู้มากยิ่งขึ้น ร้ยละ80

100.00 100.00
2 1.เพื่อส่งเสริมความรู้ผู้ดูแลสุขภาพระดับหมู่บ้านอสม.พัฒนาสู่การเป็น “อสม.หมอประจำบ้าน” 2.เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ อสม.ให้มีการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3.เพื่อพัฒนา อสม. ปฏิบัติงานร่วมกันเป็น “อสม.หมอประจำบ้าน”อย่างมีคุณภาพในระดับตำบล 4.เพื่อคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน ตำบลวังยาง

1.มีผู้เข้าร่วมอบรมโครงการครบทั้งหมด 100 คน 2.ผู้เข้าอบรมมีความรู้มากยิ่งขึ้น ร้ยละ80

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครประจำครอบครัว เพื่อคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน ตำบลวังยาง ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
โครงการพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครประจำครอบครัว เพื่อคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน ตำบลวังยาง ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหากลางวัน จำนวนรวม 100 คน ๆ ละ 60 บาท/ วัน  จำนวน 3 วัน เป็นเงิน         18,000   บาท
2.ค่าอาหาว่าง จำนวนรวม 100 คน ๆ ละ 20 บาท/มื้อ/2 มื้อต่อวันจำนวน 3 วัน เป็นเงิน   12,000   บาท
3.ค่าวิทยากรบรรยายจำนวน 4 ชั่วโมงต่อวัน ชั่วโมงละ ละ 600 บาทจำนวน  2 วัน / รุ่น จำนวน 2 รุ่น                                                                                           เป็นเงิน         9,600    บาท 4.ค่าชุดเล่มเอกสารผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 100 ชุดๆละ 25 บาท      เป็นเงิน         2,500    บาท 5.ค่าประเป๋าผ้าสำหรับใส่เอกสารและใส่อุปกรณ์สำหรับการลงพื้นที่ฝึกงานและปฏิบัติหน้าที่  จำนวน 100 ใบ ๆละ 60 บาท           เป็นเงิน         6,000    บาท 6.ค่าป้ายโครงการ ขนาด กว้าง 100 ซม.ยาว 400 ซม.จำนวน 1 ผืน      เป็นเงิน           600    บาท                                                     เป็นเงินทั้งสิ้น 48,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ร่วมโครงการมีความรู้ตามหลักสูตร อสม.หมอประจำบ้าน ซึ่งประกอบด้วย 6 วิชา ได้แก่ 1.วิชา อสค.และบทบาท อสม.หมอประจำบ้าน 2.วิชาการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ 3.วิชาส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 4.วิชาภูมิปัญญาไทย สมุนไพร และการใช้กัญชาทางการแพทย์ 5.วิชาเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ และ 6.การเป็นผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม 2.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้เข้าไปปฏิบัติงานในหมู่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากขึ้นและทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ร่วมโครงการมีความรู้ตามหลักสูตร อสม.หมอประจำบ้าน ซึ่งประกอบด้วย 6 วิชา ได้แก่ 1.วิชา อสค.และบทบาท อสม.หมอประจำบ้าน 2.วิชาการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ 3.วิชาส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 4.วิชาภูมิปัญญาไทย สมุนไพร และการใช้กัญชาทางการแพทย์ 5.วิชาเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ และ 6.การเป็นผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
2.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้เข้าไปปฏิบัติงานในหมู่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากขึ้นและทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน


>