กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ STOP TEEN MOM โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา

ตำบลตันหยงจึงงา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก เยาวชนหญิงมีอายุต่ำกว่า 19 ปี ที่ตั้งครรภ์

 

4.80

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย
กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบ
อาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้ครอบครัวขาดการอบอุ่น เยาวชนขาดการดูแลและชี้แนะ
ในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์
และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น เช่นสื่อลามกในอินเตอร์เน็ต
สิ่งเหล่านี้จึงทำให้เยาวชน เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา
ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และการตั้งครรภ์ซ้ำ
ในวัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นสิ่งที่นำไปสู่
ปัญหาของแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา เช่นมารดาและบุตรมีสุขภาพไม่แข็งแรง น้ำหนักน้อย
บางรายหาทางออกโดยการทำแท้ง บางรายเกิดความอับอาย จนต้องออกจากโรงเรียน
ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต อำเภอยะหริ่ง พบปัญหาการตั้งครรภ์
และคลอดในแม่วัยรุ่น ตั้งแต่ ปี 2561-2563 จำนวน 121 และ 123 ,125 ราย
ตามลำดับ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และข้อมูลประชากรวัยรุ่นหญิงของตำบลตันหยงจึงงา
คลอดตั้งแต่ปี 2561-2561 มีจำนวนทั้งหมด 2,4 และ 6 ราย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตันหยงจึงงา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบาโลย
จึงได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อปัญหานี้จึงจัดทำโครงการ STOP TEEN MOM
ตำบลตันหยงจึงงาขึ้น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นและแม่วัยรุ่นได้มีความรู้ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่รับผิดชอบ

ร้อยละของวัยรุ่นและแม่วันรุ่นมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

55.00 100.00
2 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น(ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนอายุ 20 ปี)

ร้อยละของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี

4.80 0.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาอนามัยเจริญพันธ์ในกลุ่มเพื่อนวัยรุ่นในชุมชน

มีเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาอนามัยเจริญพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่น

22.00 55.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มแม่วัยรุ่น 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดหัวข้อเรื่อง (กลุ่มวัยรุ่น)
1.1 เรื่องเพศศึกษา
1.2 เรื่องปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่ขาดการป้องกัน
1.3 การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น รายละเอียดหัวข้อเรื่อง (กลุ่มแม่วัยรุ่น)
1.4 การดูแลภาวะสุขภาพขณะตั้งครรภ์
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์
1.5 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่มารดาตั้งครรภ์ ครอบคลุมกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน
1.6 อาหารที่เหมาะสมตามวัย สาธิตการจัดเมนูอาหาร
1.7 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน
1.8 การส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย
1.9 การดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก

งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 55 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์คลินิกวัยรุ่น (2 หมู่บ้าน) ขนาด 1 x 2 เมตร
ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 2 ผืน เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 100 ของวัยรุ่นและแม่วันรุ่นมีความรู้เกี่ยวกับปัญหา
    และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
  2. ร้อยละของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามหญิงตั้งครรภ์แม่วัยรุ่นพร้อมให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีข้อตกลง
  2. แม่วัยรุ่นได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการวางแผนครอบครัว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์การจัดตั้งคลินิควัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์การจัดตั้งคลินิควัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์คลินิกวัยรุ่น (2 หมู่บ้าน) ขนาด 1 x 2 เมตร
    ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 3 ผืน เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าโมเดลอาหาร 1 ชุดๆ ละ 7,000 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีเครือข่ายแกนนำเฝ้าระวังปัญหาอนามัยเจริญพันธ์ในกลุ่มเพื่อนวัยรุ่นในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. วัยรุ่นและแม่วัยรุ่น มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลที่เกิด
จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม
2. แม่วัยรุ่น มีความรู้เรื่องการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ การป้องกัน
การตั้งครรภ์และเลือกที่จะตั้งครรภ์เมื่อพร้อม
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ท้องถิ่น ชุมชน บ้าน และกลุ่มเพื่อนวัยรุ่น
มีการตื่นตัวต่อปัญหาและเป็นเครือข่าย
4. เฝ้าระวังพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กวัยรุ่น


>