กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขยับกาย สบายชีวี โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงจึงงา

น.ส.ยาไหย๊ะห์ โต๊ะเด็ง
นางฮากีมะสือนิ
นางนูรียะเวาะยา
น.ส.ตูรหายานี เจะเตะ
น.ส.ขอลีเยาะมะเก

ตำบลตันหยงจึงงาอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

10.00
2 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

 

25.00

เนื่องจากสังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ จากสภาพสังคมเกษตรกรรม
มาสู่สังคมอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อม รวมทั้งความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่มีความทันสมัยสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน
เปลี่ยนไป ประชาชนมีการออกกำลังกายน้อย หลายคนมองข้ามการออกกำลังกาย และหลายคน
ยังคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นเหตุให้
สุขภาพอ่อนแอลง และอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมาเช่น ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง และไขมันอุดตันในเส้นเลือด
เป็นต้น ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก
ขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน
หากประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงจึงงา
ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนในตำบลตันหยงจึงงา
เพื่อลดปัญหาการเจ็บป่วย ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังกล่าวอีกทั้งยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยได้จัดทำโครงการขยับกาย สบายชีวี ตำบลตันหยงจึงงา ประจำปี พ.ศ.2564
เพื่อการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัว เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
นอกจากนั้นยังเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีของประชาชนด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

25.00 50.00
2 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

10.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชี้แจงโครงการและจัดการเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงโครงการและจัดการเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. พัฒนาแกนนำนักเรียน แกนนำในสถานประกอบการ แกนนำใน ศาสนสถาน
    เพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
  2. พัฒนาครูสุขศึกษา/พละ/อนามัย เรื่องกิจกรรมทางกายที่ไม่ได้เน้นการออกกำลังกาย
  3. สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานกิจกรรมทางกาย
  4. พัฒนาศักยภาพชมรม เครือข่ายผู้ปกครอง ชมรมกีฬาในชุมชน
    ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย เพื่อถ่ายทอดต่อ
    • ค่าอาหาร จำนวน 50 คนๆ ละ 50 บาทจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีการสัญจรโดยใช้การเดินและจักรยายเพิ่มขึ้น
  2. ประชาชนมีการออกหำลังกายเพิ่มขึ้น
  3. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังเช่น ความดันโลหิตสูง ,
    เบาหวาน ,หลอดเลือดสมอง, โรคอ้วนลงพุง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมทางกาย โดยจัดให้มีการออกกำลังกายประกอบเพลงในรูปแบบแอโรบิค (โดยมีผู้นำเต้น)

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมทางกาย โดยจัดให้มีการออกกำลังกายประกอบเพลงในรูปแบบแอโรบิค (โดยมีผู้นำเต้น)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การออกกำลังกายประกอบเพลงในรูปแบบแอโรบิค เป็นประจำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนเสร็จสิ้นโครงการ
- ค่าตอบแทนผู้นำออกกำลังกาย จำนวน 15 วันๆ ละ 1 ชั่วโมงๆ ละ 200 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1 x 2 ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 2 ผืน เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าเครื่องขยายเสียงแบบพกพา พร้อมไมค์ลอย จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย
  2. ชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กันสร้างความสามัคคี
  3. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินโครงการ ประเมินพฤติกรรสุขภาพและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ ประเมินพฤติกรรสุขภาพและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดข้อตกลงร่วม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
เกิดความสามัคคีในชุมชน
4. มีแกนนำในการออกกำลังกาย
5. ประชาชนในพื้นที่มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมและเพียงพอ


>