กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรค ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่

นางสาวนุสบา สะมะแอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนขาดความรู้การดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย (คน)

 

200.00
2 ร้อยละของประชาชนขาดความรู้การใช้ยาสมุนไพร (คน)

 

50.00

ด้วยปัจจุบันการดูแลสุขภาพของประชาชนในชมชุนโดยส่วนใหญ่ เป็นการพึ่งพายาเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นส่วนมาก ขาดความรู้ในการดูสุขภาพตนเองเบื้องต้น ซึ่งศาสตร์การแพทย์แผนไทยเป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งผสมผสานกับวิถีชีวิตการดูแลสุขภาพที่มุ่งทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค มีกิจกรรมในการดูแลสุขภาพ การรักษาพยาบาล เช่น การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่น การอบสมุนไพร การประคบสมุนไพร การนวดไทย การบริหารด้วยท่าฤๅษีดัดตน การบริหารร่างกายด้วยมณีเวช รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร ผักพื้นบ้าน อาหารตามฤดูกาล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวประชาชนสามารถที่จะจัดหาได้เองและมีอยู่แล้วในท้องถิ่น เป็นการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ อันซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อประชาชนในชมชุนมากกว่าการรักษาเมื่อเกิดโรคเท่านั้น ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ประชาชนให้สามารถดูแลตัวเองได้จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคที่แท้จริง
รพ.สต.บ้านใหม่จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยวิธีทางการแพทย์แผนไทยขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่นการรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารฤๅษีดัดตน การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด เป็นต้น เมื่อมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว น่าจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชน ในการจัดการสุขภาพตนเอง ได้อย่างเหมาะสมในระดับหนึ่ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

200.00 210.00
2 เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ และเป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล

เป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพเบื่องต้นด้วยศาตร์การแพทย์แผนไทย เช่น การนวด อบ ประคบสมุนไพร การใช้ยาสมุนไพร การรับประทานอาหารตามธาตุเจ้าเรือน และสอนท่ากายบริหารฤาษีดัดตน ท่ากายบริหารมณีเวช ซึ่งมีค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้ ค่าวิทยากรวิชาการชั่วโมงละ 600 บาท 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1800 บาท ค่าอาหารกลางวัน 50คน50บาท1มื้อ เป็นเงิน 2500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50คน25บาท2มื้อ เป็นเงิน 2500 บาท ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ผืน เป็นเงิน 720 บาท ค่าเอกสารประกอบการอบรม 50 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 1000 บาท ค่าปากกา 50 ด้าม ด้ามละ 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท ค่าแฟ้มใส่เอกสาร 50 อัน อันละ 25 บาท เป็นเงิน 1250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และกายบริหารฤาษีดัดตน กายบริหารมณีเวช

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10020.00

กิจกรรมที่ 2 การนวดตนเองเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การนวดตนเองเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมกลุ่ม โดยการแบ่งกลุ่มเรื่องการนวดตนเองเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีค่าวิทยากรและอุปกรณ์ที่ใช้ ต่อไปนี้ ค่าวิทยากรกลุ่มชั่วโมงละ 600 บาท 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1800 บาท เสื่อโยคะ จำนวน 10 ผืน ผืนละ 300 บาท เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถดูแลตนเองและสมาชิกในครอบครัวเมื่อมีอาการปวดเมื่อยตัวด้วยการนวดตนเองในเบื้องต้น และลดการใช้ยา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 3 การแช่มือแช่เท้าในน้ำสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
การแช่มือแช่เท้าในน้ำสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมกลุ่ม โดยการแบ่งกลุ่มเรื่องการแช่มือแช่เท้าในน้ำสมุนไพร ซึ่งมีค่าวิทยากรและอุปกรณ์ที่ใช้ ต่อไปนี้ ค่าวิทยากรกลุ่มชั่วโมงละ 600 บาท 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1800 บาท กะละมังแช่เท้า 10 อัน อันละ 150 บาท เป็นเงิน 1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถดูแลตนเองและสมาชิกในครอบครัวในการดูแลสุขภาพเมื่อมีอาการชามือชาเท้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 4 สมุนไพรใกล้ตัวเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
สมุนไพรใกล้ตัวเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมกลุ่ม โดยการแบ่งกลุ่มเรื่องสมุนไพรใกล้ตัวเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีค่าวิทยากร ต่อไปนี้ ค่าวิทยากรกลุ่มชั่วโมงละ 600 บาท 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องสมุนไพรในชุมชนมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
2.เป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ และเป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล
3.สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและฝึกทักษะผู้เข้าร่วมการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้


>