กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนสุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

กลุ่มรักษ์สุขภาพ

หมู่ที่ 3 ปิยามุมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดของมนุษย์การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาสังคม การดูแลสุขภาพเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ จนถึงเป็นผู้สูงอายุโดยกลุ่มอายุวัยทำงาน เป็นกลุ่มอายุที่เป็นเสาหลักของครอบครัว มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ และคอยดูแลบุคคลอื่นๆในครอบครัว
จากข้อมูลประชากรวัยทำงาน ปี 256๔ หมู่ที่๑-,5 มีจำนวนทั้งสิ้น ๓,๗๐๐ คนจากฐานข้อมูล พบว่าประชากรวัยทำงานส่วนใหญ่มีอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อาทิเช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ แขน ขา และอื่นๆ โดยพบว่า โรคปวดกล้ามเนื้อ พบมากเป็นอันดับที่ 4 ของ10 กลุ่มโรคที่พบมากที่สุด พบมากถึง ๕๐๐ ราย คิดเป็นร้อยละ10เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนยาง ใช้ร่างกายในการยกของหนัก ยืนและเดินเป็นเวลานานๆ และอีกปัญหาหนึ่งที่พบในวัยทำงาน คือ อาการวิงเวียน หน้ามืด จากการทำงานกลางแจ้ง ทั้งนี้ยังพบว่าประชาชนวัยทำ งานในพื้นที่ส่วนใหญ่ ขาดความรู้เรื่องการนำสมุนไพรในพื้นที่มาใช้ประโยชน์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1.ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตลูกประคบสมุนไพรได้ถูกต้อง
2.ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตน้ำสมุนไพรได้ถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ให้ความรู้ประชาชนวัยทำงาน 2. ฝึกปฏิบัติในกลุ่มประชาชนวัยทำงาน แบบไม่ต้องพักค้างแรมโดยแพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
1. ให้ความรู้ประชาชนวัยทำงาน 2. ฝึกปฏิบัติในกลุ่มประชาชนวัยทำงาน แบบไม่ต้องพักค้างแรมโดยแพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนวัยทำงาน เรื่องสมุนไพรในการทำลูกประคบสมุนไพรและการทำยาดมสมุนไพร
จับกลุ่มเพื่อทำลูกประคบสมุนไพรตั้งแต่ขั้นตอนการ ล้าง หั่น ผสม และการห่อ - จับกลุ่มเพื่อทำน้ำสมุนไพร

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2564 ถึง 30 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตลูกประคบสมุนไพรได้ถูกต้อง ร้อยละ 80 2.ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตยาดมสมุนไพรได้ถูกต้องร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนวัยทำงาน สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้และมีส่วนร่วมในการดูแลสมาชิกในครอบครัว
2. อาการปวดกล้ามเนื้อในประชาชนวัยทำงานลดลง
3. ประชาชนวัยทำงาน มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้แก่บุคคลในครอบครัวและชุมชน
4. ประชาชนวัยทำงาน สามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนในการดูแลตนเองและคนรอบข้าง


>