กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยฟันสวยด้วยสองมือผู้ปกครองตำบลบางเขา ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางเขา

1.นายประเสริฐ เพ็งภัตรา2.นายแวดาโอะ แวเยะ 3.นางนาปีซะ ตาสะเมาะ4.นางสุนิสา อับดุลตาเละ5.นางสาวแวอาซีซ๊ะ แวมิง

ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคฟันผุในฟันน้ำนมเป็นปัญหาที่พบมากในเด็กก่อนวัยเรียนจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7(สำนักทันตสาธารณสุข, กรมอนามัย, 2555) โดยในภาพรวมประเทศ พบว่า เด็กอายุ 3 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 50.6 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 2.7 ซี่/คน เด็กอายุ 5 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุสูงถึงร้อยละ 75.9 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 4.4 ซี่/คนโดยภาคใต้เด็กอายุ 3 ปี มีอัตราการเกิดโรค ฟันผุร้อยละ 59.8 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด (dmft) 3.1 ซี่/คน เด็กอายุ 5 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 82.6 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด (dmft) 5.0 ซี่/คน ซึ่งพบฟันผุสูงสุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ และเมื่อเด็กอายุเพิ่มขึ้นแนวโน้มการเกิดฟันผุยิ่งเพิ่มสูงขึ้น
จากการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กช่วงอายุ 0-3 ปี ที่มารับบริการที่รพ.สต.บางเขา เดือนสิงหาคม พ.ศ.2562 จำนวน 30 คน พบว่า เด็กมีปัญหาฟันผุ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 พฤติกรรมการแปรงฟันของเด็กอายุ 3 ปี พบว่าผู้ปกครองแปรงฟันให้แก่เด็กตอนเช้า ร้อยละ 48.9 เด็กแปรงฟันเองร้อยละ 50.6 พฤติกรรมการแปรงฟันของเด็กช่วงอายุ 0-3 ปี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา พบว่า ผู้ปกครองแปรงฟันให้โดยใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ร้อยละ 56.67 ผู้ปกครองแปรงฟันให้โดยไม่ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ร้อยละ 16.67 และผู้ปกครองไม่แปรงฟันให้เด็กร้อยละ 26.66
การป้องกันฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพ ช่องปากของบุตรหลานอย่างต่อเนื่อง และรองรับเด็กไทย Smart kids ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบางเขา ได้ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพในช่องปากเด็ก จึงได้จัดทำโครงการ “หนูน้อยฟันสวยด้วยสองมือผู้ปกครองตำบลบางเขา” ขึ้น เพื่อส่งเสริมและป้องกันการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรกของเด็กให้ห่างไกลจากโรคฟันผุและมีสุขภาพฟันและช่องปากที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมผู้ปกครองให้มีความรู้ มีความตระหนักในการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน

 

0.00 0.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายอสม.ทันตสุขภาพในการให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก แก่ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กอายุ 0-3 ปี มีฟันผุลดลง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการหนูน้อยฟันสวยด้วยสองมือผู้ปกครองตำบลบางเขา แก่เครือข่ายอสม. ทันตสุขภาพ จำนวน 80 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการหนูน้อยฟันสวยด้วยสองมือผู้ปกครองตำบลบางเขา แก่เครือข่ายอสม. ทันตสุขภาพ จำนวน 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำป้ายโครงการขนาด 1.2 x 3เมตรจำนวน1 ป้ายเป็นเงิน 720บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน อัตรามื้อละ 25 จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2720.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และฟันแก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก 0 – 3 ปี

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และฟันแก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก 0 – 3 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร     เป็นเงิน  1,400 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน อัตรามื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน  3,500 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน อัตรามื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน  3,500 บาท
  4. ค่าชุดแปรงสีฟัน จำนวน 70 ชุด อัตราชุดละ 50 บาท    เป็นเงิน  3,450 บาท
  5. ค่าวัสดุสำนักงาน  เป็นเงิน  1,030 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12880.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทน อสม. จำนวน 80 คน อัตราคนละ 50 บาท   เป็นเงิน  4,000 บาท
  2. ค่าวัสดุของรางวัล  เป็นเงิน  2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน สามารถดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของบุตรได้ถูกต้อง ส่งผลให้เด็กไม่เกิดโรคฟันผุ หรือมีฟันผุลดลง


>