กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปาล์มพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปาล์มพัฒนา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง

พื้นที่หมู่ที่2, หมุ่ที่ 4, หมู่ี่7,หมู่ที่8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

14.00

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคของต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาล์มพัฒนา มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ คือ ม.๒,๔,๗,๘ ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ปลูกพืชผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง จากผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงในเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ กลุ่มเสี่ยง(จากการคัดเลือกโดย อสม.) จำนวน 30 คน ผลการตรวจเลือดพบว่า ระดับปกติ จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๓๔ ระดับปลอดภัย จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐ ระดับมีความเสี่ยง จำนวน ๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๖๖
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในหมู่ที่ ๒,๔,๗,๘ ตำบลปาล์มพัฒนา มีความเสี่ยงอีกทั้งยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งในการนำมาใช้นั้นมีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาล์มพัฒนา จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการดูแลตนเองให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไปผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงในเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ กลุ่มเสี่ยง (จากการคัดเลือกโดย อสม.) จำนวน ๓๐ คน ผลการตรวจเลือดพบว่า ระดับปกติ จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๓๔ ระดับปลอดภัย จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐ ระดับมีความเสี่ยง จำนวน ๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๖๖

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

14.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(๑) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ60 บาท x 135 คน เป็นเงิน 8,100 บาท (๒) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท x 135 คน เป็นเงิน6,750 บาท (4) ค่าป้ายไวนิลโครงการ (ขนาด 1 x 2 เมตร) จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15300.00

กิจกรรมที่ 2 เจาะเลือดตรวจหาสารเคมีเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พร้อมแจ้งผล

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดตรวจหาสารเคมีเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พร้อมแจ้งผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(๑) ค่ากระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรส จำนวน ๒ กล่องๆละ ๑,๐๐๐ บาท (๑ กล่องมี ๑๐๐ แผ่น)เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท (๒) ค่าเข็มเจาะปลายนิ้ว ๑ กล่อง (๒๐๐ ชิ้น) เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท (๓) ค่า capillary tube ๒ กล่อง (๑ กล่องมี ๑๐๐ tube) ราคากล่องละ๑๕๐ บาทเป็นเงิน ๓๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 3 นำเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่อ่านผลว่า“ไม่ปลอดภัย/มีความเสี่ยง”มาวางแผนการดูแลพร้อมให้คำแนะนำ

ชื่อกิจกรรม
นำเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่อ่านผลว่า“ไม่ปลอดภัย/มีความเสี่ยง”มาวางแผนการดูแลพร้อมให้คำแนะนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(๑) ยาชงรางจืด จำนวน ๑๐๐ ชุด ๆละ ๑๔ บาท  เป็นเงิน ๑,๔๐๐ บาท (๑ คน กิน ๕ ชุด)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เกษตรกรทราบระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด
๒. มีระบบเฝ้าระวังเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
๓. เกิดแนวทางและรูปแบบในการดูแลเกษตรสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับตำบลอย่างยั่งยืน


>