กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในสตรีอายุ 30-60 ปีเป็นโรคที่พบว่ามีอุบัติการณ์การเกิดสูงและเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพสตรี เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ซึ่งผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักจะไปรับการรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรแต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากว่าได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะกลุ่มสตรีในเขตชนบทซึ่งมีการศึกษาที่ไม่มากพอ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง
ในปีงบประมาณ 2564 สตรีอายุ 30-60 ปี ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง มีจำนวนทั้งหมด 1,100 คน เป้าหมายต้องคัดกรองให้ได้ร้อยละ 20 ของจำนวนสตรี 30-60 ปี ทั้งหมด คือ 220 คน ซึ่งสตรีกลุ่มเป้าหมาย 220 คน ต้องได้รับการตรวจคัดกรองทุกคน และผ่านการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกคน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง ได้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคแก่ประชาชน เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นการสนองตามนโยบายประกันสุขภาพอีกทางหนึ่ง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ประจำปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มที่พบความผิดปกติเกี่ยวกับ cell ปากมดลูกได้รับการส่งต่อ และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

0.00
3 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้ผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

 

0.00
4 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ที่มีความผิดปกติและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างทันท่วงที

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สตรีอายุ 30-60 ปี 110

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงให้ความรู้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง พร้อมสาธิตวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงให้ความรู้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง พร้อมสาธิตวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 110 คน เป็นเงิน 5,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 110 คน เป็นเงิน 5,500 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 13,800บาท (เงินหนึ่งหมื่นสี่สามพันแปดร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ ๘๕ ของสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-๗0 ปี ได้ผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

กิจกรรมที่ 2 ภายหลังการประชุมชี้แจงให้ความรู้ แจกคูปองให้ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตามวันและเวลาที่รพ.สต.กำหนด

ชื่อกิจกรรม
ภายหลังการประชุมชี้แจงให้ความรู้ แจกคูปองให้ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตามวันและเวลาที่รพ.สต.กำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 20 ของกลุ่มสตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มเป้าหมาย ให้คำแนะนำ แจ้งผลการตรวจ และส่งต่อผู้ที่มีผลคัดกรองผิดปกติไปรับการรักษาต่อ

ชื่อกิจกรรม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มเป้าหมาย ให้คำแนะนำ แจ้งผลการตรวจ และส่งต่อผู้ที่มีผลคัดกรองผิดปกติไปรับการรักษาต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ ๑๐๐ ของสตรีกลุ่มอายุ 30-๗0 ปี ที่มีความผิดปกติและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้รับการส่งต่อ และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ร้อยละ ๑๐๐ ของกลุ่มที่พบความผิดปกติเกี่ยวกับ cell ปากมดลูกได้รับการส่งต่อ และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 20 ของสตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  2. ร้อยละ 100 ของกลุ่มที่พบความผิดปกติเกี่ยวกับ cell ปากมดลูกได้รับการส่งต่อ และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  3. ร้อยละ 85 ของสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-70 ปี ได้ผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  4. ร้อยละ 100 ของสตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี ที่มีความผิดปกติและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้รับการส่งต่อ และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการคัดกรองความผิดปกติ และได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ระยะลุกลาม และลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม


>