กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

แก้ปัญหานักเรียนพร่องทางโภชนาการผอม-เตี้ย (02-13)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ 11

โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ 11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัญหาพร่องทางโภชนาการ อ้วน ผอม ในเด็กมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินของแต่ละบุคคล ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่มีภาวะเตี้ยและผอมจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ภาวะพร่องทางโภชนาการเตี้ย ผอม จึงเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลต่อการพัฒนาการตั้งแต่แรกเริ่มของเด็ก เนื่องจากเด็กจำเป็นต้องมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาทางด้านการเรียนซึ่งข้อมูลในระดับประเทศพบว่า เด็กไทยมีภาวะพร่องทางโภชนาการทั้งเด็กเตี้ย และผอมเป็นจำนวนมาก สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากค่านิยมในการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสภาพสังคม พฤติกรรมเลียนแบบ ความไม่ใส่ใจและความตระหนักของผู้ปกครอง และครอบครัว
เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคตแต่ในปัจจุบันเด็กในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหาร พืช ผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการสะสมสารพิษในร่างกายจึงทำให้เกิดโรคและเจ็บป่วยได้ง่าย
โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้11ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหา จึงจำเป็นต้องจัดทำ “โครงการแก้ปัญหาเด็กพร่องทางโภชนาการอ้วน-ผอม โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้11”โดยจัดกิจกรรมอาหารเช้าและปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้และฝึกการทำงานด้านอาชีพเบื้องต้นและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนจำนวน 35 คน ได้รับอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย

นักเรียนร้อยละ 95 มีสุขภาพแข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงสมวัยตามมาตรฐาน

100.00 95.00
2 เพื่อให้นักเรียน จำนวน 109 คน ได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ

นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับบริการอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย

100.00 100.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัญหาพร่องทางโภชนาการ อ้วน ผอม ในเด็กมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินของแต่ละบุคคล ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่มีภาวะเตี้ยและผอมจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ภาวะพร่องทางโภชนาการเตี้ย ผอม จึงเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลต่อการพัฒนาการตั้งแต่แรกเริ่มของเด็ก เนื่องจากเด็กจำเป็นต้องมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาทางด้านการเรียนซึ่งข้อมูลในระดับประเทศพบว่า เด็กไทยมีภาวะพร่องทางโภชนาการทั้งเด็กเตี้ย และผอมเป็นจำนวนมาก สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากค่านิยมในการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสภาพสังคม พฤติกรรมเลียนแบบ ความไม่ใส่ใจและความตระหนักของผู้ปกครอง และครอบครัว
เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคตแต่ในปัจจุบันเด็กในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหาร พืช ผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการสะสมสารพิษในร่างกายจึงทำให้เกิดโรคและเจ็บป่วยได้ง่าย
โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้11ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหา จึงจำเป็นต้องจัดทำ “โครงการแก้ปัญหาเด็กพร่องทางโภชนาการอ้วน-ผอม โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้11”โดยจัดกิจกรรมอาหารเช้าและปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้และฝึกการทำงานด้านอาชีพเบื้องต้นและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 109
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อาหารเสริม

ชื่อกิจกรรม
อาหารเสริม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารเสริมยามเช้า  20 บาท  จำนวน 35 คน  จำนวน 57 วันๆ ละ 700 รวมเป็นเงิน 39,900บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียจำนวน 35 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39900.00

กิจกรรมที่ 2 ปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
ปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุ 1. หน้าดิน จำนวน 1 คันๆละ700บาท รวมเป็นเงิน 700 บาท 2. เมล็ดผักบุ้ง 2 กระป๋องๆ ละ 200 บาท  รวมเป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน 109 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็ง
2. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านโภชนาการ ด้านสุขภาพ
3. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
4. นักเรียนได้ออกกำลังกาย สุขภาพแข็งแรงมีผักปลอดสารพิษประกอบอาหารเช้า
5. นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย


>