กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

รพ.สต.ทุ่งใหญ่

ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

90.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

72.00

การส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักทารกแรกเกิด เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโต และการมีชีวิตรอดของทารก ทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการอยู่รอดต่ำ มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กล่าช้า ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค ของการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด เกิดในกลุ่มทารกน้ำหนักน้อย หรือถ้ารอดตายในช่วงต้นของชีวิต ก็อาจมีปัญหา ในด้านการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการตามมา เช่น ปัญหาในด้านการเรียน การมองเห็น โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือการเป็นเด็กพิการ ปัญญาอ่อน
จากข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2559 – 2562 พบว่า อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 7.19, 7.90 และ 7.83 ตามลำดับ (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 7) การคลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุปัจจัยของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 4.62, 5.22 และ 8.51 ตามลำดับ ที่เหลือเกิดจากปัจจัยด้านการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ อันเนื่องมาจากภาวะโภชนาการ การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ภาวะแคระแกร็น พฤติกรรมการบริโภค การทำงาน และการพักผ่อนของหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลต่อการมีพัฒนาการล่าช้าของเด็กและข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ 3 ปีย้อนหลัง รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ94.62 , 55.41และ 94.75ตามลำดับ (เป้าหมาย ร้อย 60) และได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ89.06 96.88และ86.96ตามลำดับ ( เป้าหมาย ร้อยละ 65 )
จากผลสรุปงานกิจกรรมในโครงการรณรงค์ให้หญิงมีครรภ์ได้มีการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 3 เดือนได้ร้อยละ 94.74 ในปี 2560 ร้อยละ55.41 เพิ่มขึ้น ร้อยละ39.33 ซึ่งส่งผลต่อหญิงมีครรภ์คลอดลูกมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 2,500 กรัม โดยข้อมูลปี 2562 มีเด็กแรกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า2,500 กรัม ร้อยละ 13.13 แต่ในปี 2561 ได้ร้อยละ 8.51 และการรณรงค์ตรวจพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในปี2560 ได้ร้อยละ 93.65 พบเด็กที่สงสัยล่าช้า ร้อยละ 5.37โดยในปี 2561 ได้ร้อยละ 96.49 พบล่าช้า ร้อยละ 7.28 ซึ่งการที่ค้นพบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้เร็วและครอบคลุมจะทำให้เด็กจะได้รับการดูแลเร็วขึ้นเด็กจะได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการตามวัยทำให้มีพัฒนาการตามวัยได้จะเห็นได้ว่าโครงการของมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี มีคุณภาพของประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์1,000 วันแรกแห่งชีวิต 2564โดยครอบคลุมไปถึงการดูแลเฝ้าระวังพัฒนาการตามวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลทุ่งใหญ่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงคั้งครรภ์มีความรู้การดูแลเด็กทารก

ร้อยละ 90 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เพิ่มขึ้น

80.00 50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้มีการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์

80.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 24
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 24 คนx60 บ. = 1,440 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 24 คนx30 บ.x2มื้อ = 1,440 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ 6 ชั่วโมงx600บ.= 3,600 บาท
  • ค่านมกล่องบำรุงครรภ์ 12 คน x460 บ.=5,400 บาท
  • ค่าไข่ไก่บำรุงครรภ์ 60 แผง x100= 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2564 ถึง 16 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความตระหนักในการฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์และเด็กแรกเกิด – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,880.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>