กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพข้อเข่าด้วยธาราบำบัด ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เทศบาลเมืองปากช่อ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในคนสูงอายุทุกเชื้อชาติ พบได้ร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป ข้อมูลล่าสุดในปี 2553 พบคนไทยป่วยโรคข้อเสื่อมกว่า 6 ล้านคน มากที่สุดคือข้อเข่า เนื่องจากเป็นอวัยวะที่แบกรับน้ำหนักตัวโดยตรงซึ่งทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่าตัว คาดว่าผู้ป่วยโรคนี้จะเพิ่มขึ้นมากจากปัญหาโรคอ้วน ผลการวิจัยทั่วโลก ยืนยันตรงกันพบมีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อมถึง 1.4 เท่าตัว โดยผู้หญิงเสี่ยง 4.37 เท่าตัว และผู้ชายเสี่ยง 2.7 เท่าตัว ซึ่งขณะนี้ผลสำรวจทั่วประเทศไทยมีคนอ้วนประมาณ 16 ล้านคน โดยมากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน ซึ่งปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองปากช่องก็พบผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวนมาก หากไม่เร่งควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คาดว่าในอนาคตจะพบผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่วัยหนุ่มสาว โดยได้มีการศึกษาวิจัยรูปแบบการฟื้นสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้อเสื่อมและมีน้ำหนักตัวมากเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบจัดบริการฟื้นฟูที่เหมาะสมในการบำบัดอาการปวด ลดน้ำหนักตัว ชะลอความเสื่อมข้อเข่า เพื่อรองรับการจัดบริการ ในสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มีผู้สูงอายุถึง 10 ล้านคน ซึ่งพบว่าธาราบำบัด หรือ Hydrotherapy เป็นเทคนิคการรักษา ที่อาศัยคุณสมบัติของน้ำที่มีทั้งแรงลอยตัวและแรงดันน้ำ มาเป็นตัวช่วยในการออกกำลังกายให้หลากหลายคือการใช้คุณสมบัติของน้ำ ช่วยพยุงรับทุกส่วนของร่างกาย ทำให้เคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ลดแรงกระแทก และบรรเทาความเจ็บปวด ฉะนั้นธาราบำบัดจึงสามารถฟื้นฟูได้ทั้งร่างกายและจิตใจผู้ป่วย โดยผู้ป่วยกลุ่มหลักๆ ที่สามารถใช้ธาราบำบัดเยียวยาได้ ได้แก่ผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ที่มีปัญหากระดูกหัก ผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ป่วยโรคข้อ บุคคลทั่วไปที่มีความเครียด และเหล่านี้ คือประโยชน์โดยตรงของธาราบำบัดต่อสุขภาพข้อต่อ
ในฐานะที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพข้อเข่าด้วยธาราบำบัด ประจำปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อเพื่อผ่อนคลาย ลดอาการ ลดปัญหา ลดความเจ็บปวด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ ลดปัญหาข้อยึดติดและ ความเสียสมดุลทรงตัว รวมทั้งเพื่อส่งเสริมสุขภาพของร่างกาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดูแลภาวะสุขภาพข้อเข่าของประชาชน

ร้อยละประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลภาวะสุขภาพข้อเข่า

80.00
2 เพื่อชะลอความเสื่อมของข้อเข่า ลดอาการปวด และเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัว

ร้อยละ pain score อาการป่วยข้อเข่าอยู่ในระดับที่ดีขึ้น

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม Work shop ครั้งที่ 1 จำนวน 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม Work shop ครั้งที่ 1 จำนวน 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การประเมินภาวะสุขภาพ
  • การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
    • ประเมินปัญหาข้อเข่า
  • การบรรยาย สาธิตและฝึกปฏิบัติ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมอบรบมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลภาวะสุขภาพข้อเข่าได้เป็นอย่างดี 2.เพื่อใช้น้ำเป็นสื่อรักษาในการฝึกออกกำลังกายในน้ำและการรักษาด้วยคุณสมบัติของน้ำได้เป็นอย่างดี 3.เพื่อชลอความเสื่อมของข้อเข่า ลดอาการปวด และเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัวได้เป็นอย่างดี 4.เพื่อสงเสริมสุขภาพผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
122000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการฝึกปฏิบัติต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 8 สัปดาห์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการฝึกปฏิบัติต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 8 สัปดาห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกปฏิบัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมอบรบมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลภาวะสุขภาพข้อเข่าได้เป็นอย่างดี 2.เพื่อใช้น้ำเป็นสื่อรักษาในการฝึกออกกำลังกายในน้ำและการรักษาด้วยคุณสมบัติของน้ำได้เป็นอย่างดี 3.เพื่อชลอความเสื่อมของข้อเข่า ลดอาการปวด และเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัวได้เป็นอย่างดี 4.เพื่อสงเสริมสุขภาพผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม Work shop ครั้งที่ 2 จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม Work shop ครั้งที่ 2 จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินภาวะสุขภาพ/การทดสอบสมรรถภาพทางกาย/ การประเมินปัญหาข้อเข่า

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมอบรบมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลภาวะสุขภาพข้อเข่าได้เป็นอย่างดี 2.เพื่อใช้น้ำเป็นสื่อรักษาในการฝึกออกกำลังกายในน้ำและการรักษาด้วยคุณสมบัติของน้ำได้เป็นอย่างดี 3.เพื่อชลอความเสื่อมของข้อเข่า ลดอาการปวด และเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัวได้เป็นอย่างดี 4.เพื่อสงเสริมสุขภาพผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 195,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

7.1 ประชาชนได้รับการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดูแลภาวะสุขภาพข้อเข่าในระดับดี
ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
7.2 มีการใช้น้ำเป็นสื่อรักษาในลักษณะการฝึกออกกำลังกายในน้ำและการรักษาด้วยคุณสมบัติของน้ำ
7.3 สามารถชะลอความเสื่อมของข้อเข่า ลดอาการปวด และเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัว
7.4 ประชาชนได้รับส่งเสริมสุขภาพผ่อนคลายความเครียด
7.5 ผลการประเมินความปวดข้อเข่าใช้น้ำเป็นสื่อในการรักษา โดยใช้ pain score อยู่ในระดับที่ดีขึ้น
จากเดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50


>