กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสานสายใยรักผูกพัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(2-6ปี)ได้รับความรัก ความอบอุ่น และกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

 

106.00

ปัจจุบันเทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นทำให้สังคมและครอบครัวเปลี่ยนแปลงตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีตามไปด้วย พ่อ แม่ ต้องทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาให้กับลูก การร่วมกิจกรรมในครอบครัวลดน้อยลง พ่อ แม่ ยุคปัจจุบันใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องเล่นหรือใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ให้ลูกๆ แทนการทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ซึ่งเด็กๆในวัยอายุ 2 - 6 ปี เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการเจริญเติบโตและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้จะเข้าใจจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เมื่อโทรศัพท์มือถือมีบทบาททำให้เด็กชื่นชอบ เพราะสามารถให้ความเพลิดเพลินด้วยสีสัน แสงสีที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้เด็กติดโทรศัพท์มือถือโดยไม่รู้ตัว ผลที่ตามมาคือทำให้มีพัฒนาการต่างๆของเด็กช้าลงมีพฤติกรรมที่ก้าวราว ไม่สนใจคนรอบข้าง รวมถึงพ่อแม่ เพราะสนใจแต่จะเล่นโทรศัพท์มือถือ แล้วอาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน จนทำให้ขาดความสุขและขาดการเจริญเติบโตตามวัยที่เหมาะสม

ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ จึงได้จัดทำโครงการแม่สารรักขึ้น เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับพ่อ แม่ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับครอบครัว และสังคม ได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง ครู ผู้ปกครอง เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครอง ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันกับลูกมากขึ้น 2. เพื่อให้พัฒนาการเด็ก 2–6 ปี ได้รับความรัก ความอบอุ่น และกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย 3. เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กในการใช้โทรศัพท์มือถือแทนการสื่อสาร หรือสื่อการเรียนรู้ของเด็ก 4. เพื่อให้ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญา

-ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันลูกมากขึ้น -พัฒนาการเด็ก2-6 ปีได้รับความรัก ความอบอุ่นและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
-ผู้ปกครองตระหนักถึงผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กในการใช้โทรศัพท์มือถือแทนการสื่อสารหรือสื่อการเรียนรู้ของเด็ก -ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญา

106.00 97.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 106
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/08/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครองโดยวิทยากร กำหนดเนื้อหา ดังนี้ - พัฒนาการตามวัยเด็ก 2–5ปี จำนวน 1 ชั่วโมง - การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 2–5ปี จำนวน 1 ชั่วโมง - ความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก 2–5ปี จำนวน 1 ชั่วโมง กิจกรรมที่ 2 - กิน กอด เล่น เล่า จำนวน3 ชั่วโมง - การผลิตสื่อแม่สารรัก
2. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการผลิตสื่อ 3. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาวะ งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ จำนวน 17,548 บาทรายละเอียดดังนี้ จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จำนวน 106 คน
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 106 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 5,300. บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 106 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,300. บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด1.4 X 2.6 เมตรจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 910.- บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ600บาท เป็นเงิน 3,600.-บาท - ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ประกอบด้วย - ค่าเอกสารประกอบ(แผ่นละ 0.5 สตางค์ 10 แผ่น) 5 บาท x 106 คน เป็นเงิน530.-บาท - ดินสอ3 บาท x 106 คน เป็นเงิน318.-บาท - ค่ากระเป๋าถุงผ้า 15 บาท x 106 คน เป็นเงิน1,590.-บาท เป็นเงินทั้งสิ้น17,548.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันลูกมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17548.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,548.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันกับลูกมากขึ้น
2. พัฒนาการเด็ก 2–6 ปี ได้รับความรัก ความอบอุ่น และกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
3.ผู้ปกครองตระหนักถึงผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กในการใช้โทรศัพท์มือถือแทนการสื่อสารหรือสื่อการเรียนรู้ของเด็ก
4. ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญา


>