กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ครอบครัวโภชนาการดี สูงดีสมส่วน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง

นางพนิดากุลุแป

ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กวัยก่อนเรียนถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศในอนาคต การที่กลุ่มประชากรวัยเด็กจะโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้นั้น จะต้องมาจากเด็กที่มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย ดังนั้นตั้งแต่ ปี 2559 รัฐบาลจึงมีนโยบายในการพัฒนาประชากรของประเทศตามกลุ่มวัยต่างๆตั้งแต่วัยทารกในครรภ์จนถึงวัยสูงอายุ โดยความร่วมมือกันของหลายกระทรวง เห็นได้จาก พมจ.สนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูบุตร 600 บาท/เดือน แก่เด็กที่เกิดในปีงบประมาณ 2559 เป็นต้นมา กระทรวงสาธารณสุข มีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กภายใต้โครงการตำบลพัฒนาการเด็กดีเริ่มที่นมแม่มาหลายปี และในปี 2560 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี มีนโยบายการพัฒนาการดูแลสุขภาพเด็ก 0 – 5 ปี ให้ครอบคลุม 4 ด้าน คือ สุขภาพฟันไม่ผุ สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย วัคซีนครบตามเกณฑ์ ภายใต้โครงการหนูน้อย Pattani Smart Kids
จากการประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาเด็กวัยก่อนเรียน ตามโครงการ Pattani Smart Kids ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง ตั้งแต่ ตุลาคม 2559 จนถึง ธันวาคม 2563 พบว่า เด็กอายุครบ 18 เดือน จำนวน 33 คนผ่านเกณฑ์ 4 ด้านจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ไม่ผ่านเกณฑ์ 4 ด้าน 11 คน คิดเป็นร้อยละ33.33 ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 4 ด้าน พบมากที่สุด คือด้านการเจริญเติบโตช้า คิดเป็นร้อยละ 45.5 มีปัญหาน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เตี้ย และท้วม รองลงมา คือปัญหาฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 45.5 เท่ากัน และพบว่าเด็ก 0-5 ปี มีภาวะทุพโภชนาการ(ไม่สูงดี สมส่วน ) จำนวน 50 คนคิดเป็นร้อยละ 46.12 สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงเด็ก ละเลยการจัดการหาอาหารที่ไม่เหมาะสมกับวัย และการเสริมสร้างลักษณะนิสัยการเลือกบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่เล็ก เช่น ชาเย็น นมเย็น ยำมาม่า ลูกชิ้นไส้กรอกขนมกรุบกรอบ ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ฟันผุง่าย เจ็บป่วยบ่อย ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้
ดังนั้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพนั้น จึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขภาวะทุพโภชนาการในเด็กเล็ก (0-5 ปี) ภายใต้ชื่อโครงการ ครอบครัวโภชนาการดีสูงดีสมส่วน เพื่อเฝ้าระวังดูแลสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียน โดยอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็ก 0- 5ปี (Pattani smart kids)

ร้อยละ 95 เด็กเล็ก(Pattani smart kids )ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

95.00 95.00
2 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก0- 5ปี ในเรื่องการดูแลเด็กให้มีภาวะโภชนาการสูงดี สมส่วน /ผลกระทบจากภาวะทุพโภชนาการและแนวทางแก้ไขการเจริญเติบโตช้าในเด็ก

1.ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและการเจริญเติบโตช้า ได้รับความรู้ ร้อยละ 100

100.00 100.00
3 เพื่อให้เด็ก0- 5ปี (Pattani smart kids)ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการดูแลแก้ไข

ร้อยละ 50 ของเด็กเล็ก(Pattani smart kids) ที่มีภาวะทุพโภชนาการและเจริญเติบโตช้า มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.3 ก.ก./เดือน

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 29/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ ให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ไม่สมส่วน ) จำนวน 1 วัน (กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครอง เด็กที่ไม่สูงดี สมส่วน 50 คน)

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ ให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ไม่สมส่วน ) จำนวน 1 วัน (กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครอง เด็กที่ไม่สูงดี สมส่วน 50 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ ให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ไม่สมส่วน ) จำนวน 1 วัน (กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครอง เด็กที่ไม่สูงดี สมส่วน 50 คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 29 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ(ไม่สูงดี สมส่วน)ทุก 1 เดือน จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ(ไม่สูงดี สมส่วน)ทุก 1 เดือน จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ(ไม่สูงดี สมส่วน)ทุก 1 เดือน จำนวน 3 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 29 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการติดตาม แก้ไขต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาอาหารเสริม

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอาหารเสริม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาอาหารเสริม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 29 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีปัญหาได้รับการดูแล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ


>