กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ.2ส. ตามวิถีชุมชน ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพอ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.ตำบลเมาะลาแต

1.นายวิโรจน์ มิตทจันทร์
2.นางสาวรอมือล๊ะ กะเส็มมิ
3.นางสาวนูรีฮ๊ะและปายัง
4.นางสาวมารีเย๊าะมะและ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะลาแต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

40.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

20.00

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสา่รและการคมนาคม รวมทึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิธีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมากในปัจจุบันและในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ เช่นการบริโภค การออกกำลังกาย ความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น การไข้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศจำเป็นต้องพัฒนาประชาชนให้มีความรู้ และทักษะที่จำเป็น
การสร้างเสริมสุขภาพและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึ่งประสงค์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัง 3อ.2ส.
1.2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 60
อสม.
แกนนำหมู่บ้าน

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 สร้างกระแสสุขภาพ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้พฤติกรรมสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมท่ี 3 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 สร้างกระแสสุขภาพ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้พฤติกรรมสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมท่ี 3 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ก่อนดำเนินการ -ประชุมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง -ดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน -ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.การดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 สร้างกระแสสุขภาพ -โดยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้พฤติกรรมสุขภาพ และโรคเรื้อรัง กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง 3อ2ส กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย มีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 60 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆละ 50 บาท จำนวน 60 ชุดเป็นเงิน 3,000บาท -ค่าจัดทำคู่มือปฏิบัติการป้องกัน DM/HT 50 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 8,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้เข้าร่วมเวทีประชุมตามกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ100 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,500.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลทุ่งพอ จำนวน 8,500 บาท รายละเอียดดังนี้
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 60 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันื1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 60 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าจัดทำเครื่องมือปฎิบัติการป้องกัน DM/HT 50 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 8,500 บาท (แปดพันห้าร้อยบาทถ้วน)
หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับมีความรู้และได้รับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อ DM (pre-DM) ป่วยเป็น DM ไม่เกินร้อยละ 5
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อ HT (pre-HT) ป่วยเป็น HT ไม่เกินร้อยละ 5


>