กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 มาตรา 16กล่าวว่า ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองโดย (16)คือ การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กสตรีคนชราและผู้ด้อยโอกาสและพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 อำนาจหน้าที่ของเทศบาลฯ มาตรา 54(4)ให้มีและบำรุง การสงเคราะห์มารดาและเด็กประกอบกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564)มีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการเต็มศักยภาพโดยกำหนดตัวชี้วัดให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ซึ่งในช่วงระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมาตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบูรณาการ 4 กระทรวงด้านงานเด็กปฐมวัย ปี พ.ศ. 2560 กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมจัดทำมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติโดยได้นำมาตรฐานสาธารณสุขด้านเด็กปฐมวัย เช่น ให้เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปรับประทานอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอและส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมมีการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก และดูแลการเจ็บป่วยเบื้องต้น
ด้วยเหตุนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ทุกแห่งจึงได้วางแนวทางในการจัดทำแผนงาน/โครงการ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นอาหารกลางวันและอาหารเช้าสำหรับนักเรียนทั้งนี้ในส่วนของการจัดอาหารเช้าให้กับนักเรียนทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองคอหงส์ทั้ง 4 แห่งต่างให้ความสำคัญกับมื้อเช้าของเด็กโดยเฉพาะ เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากอาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่ขาดไม่ได้จำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กจะต้องได้รับประทานอาหารเช้ากอรปกับการที่เด็กจะต้องมาเรียนหนังสือซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้สมองอย่างมากเพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่เด็กจะใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆมีส่วนช่วยพัฒนาการต่อทั้งร่างกายและสมองซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของเด็กทำงานได้ดีขึ้น มีพละกำลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆรวมทั้งการพัฒนาสมองของเด็กพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างมีสมาธิและมีความจำหากเด็กในวัยนี้ซึ่งเป็นวัยที่ซุกซน อยากรู้อยากเห็น หากไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนหรือไม่เพียงพอจะส่งผลเสียเนื่องจากต่อสุขภาพร่างกายกับระบบภูมิคุ้มกันอาจจะทำให้ป่วยง่ายพร้อมยังมีผลในเรื่องสติปัญญาจะทำให้เด็กเรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง และจำอะไรได้ไม่ค่อยดี
ซึ่งสอดรับกับข้อมูลของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขที่เปิดเผยข้อมูลจากนักโภชนาการว่า มื้ออาหารเช้าสำหรับเด็ก ควรได้รับสารอาหารในกลุ่มประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- อาหารในกลุ่มข้าวแป้ง ให้สารอาหารที่เรียกว่า “คาร์โบไฮเดรต” เป็นแหล่งพลังงานจึงควรเลือกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง หรือขนมปังโฮลวีท หรือไม่ก็เป็นอาหารเช้าที่ทำจากธัญพืชเพราะอาหารในกลุ่มนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหารช่วยให้เด็กมีพลังงาน ที่ค่อยย่อยและดูดซึม ซึ่งเป็นพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาอย่างช้าๆ ทำให้เด็กมีพลังงานอย่างต่อเนื่อง มีผลต่อสมาธิและอารมณ์
- อาหารในกลุ่มของเนื้อสัตว์ ให้สารอาหารที่เรียกว่า “โปรตีน” ช่วยให้เด็กมีสมาธิ และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆดังนั้น ควรเลือกจำพวก ไข่ ปลา เนื้อหมู และเนื้อไก่
- นม และผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ นอกจากจะเป็นแหล่งของโปรตีนที่ดีแล้ว ยังเป็นแหล่งของแคลเซียม รวมถึงวิตามินต่าง ๆ จะช่วยบำรุงทั้งร่างกายและสมองอีกด้วย
จากข้อมูลสถานการณ์เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์เทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า จำนวนเด็กมีจำนวนทั้งสิ้น 300 คนเป็นเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการด้อยโอกาสและเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อการทุพโภชนาการรวมจำนวน 160 คนคิดเป็นร้อยละ 53และสำหรับปี 2564 จำนวนเด็กกลุ่มเสี่ยงตามเป้าหมาย ดังนี้
1. เด็กเตี้ย 12คน
2. เด็กค่อนข้างเตี้ย 15คน
3. เด็กผอม 18คน
4. เด็กค่อนข้างผอม 25คน
5. เด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อการทุพโภชนาการ 90คน
รวมทั้งสิ้น 160 คน

ทั้งนี้เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการทุพโภชนาการหมายถึงเด็กที่มีฐานะยากจน และ/หรือเด็กที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพกรีดยางในช่วงเช้ามืดและ/หรือเด็กที่ผู้ปกครองมีอาชีพไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและ/หรือเด็กที่มีปัญหาครอบครัวและ/หรือเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคปากแหว่งเพดานโหว่เป็นต้น
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์จึงเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย ในการสนับสนุนอาหารเช้าให้กับนักเรียนจึงกำหนดจัดโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ฯประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564ขึ้นนั่นเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์ที่ทุพโภชนาการ มีอาหารเช้ารับประทาน อย่างเพียงพอ ส่งผลให้นักเรียนมีน้ำหนัก สมส่วนเพิ่มขึ้น

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง เทศบาล มีส่วนร่วมในการติดตามภาวะโภชนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 160
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชี้แจงสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพให้กับผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพให้กับผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนรวม 1 ชั่วโมง = 600  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาอาหารเช้าให้กับเด็กกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอาหารเช้าให้กับเด็กกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดซื้ออาหารเช้า 160 คน x 20 บาท x 118 วัน = 377,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
377600.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามประเมินผลโดยการ
  1. ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเด็กเป็นประจำทุกเดือน
  2. บันทึกภาวะโภชนาการรายบุคคลในสมุดรายงานประจำตัวเด็กปฐมวัย
  3. จัดทำรายงานภาวะการเจริญเติบโต ของเด็กทุก 4 เดือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ด้านโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ด้านโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ด้านโภชนาการ = 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้านโภชนาการโดยการจัดอบรมให้ความรู้ แก่ครู และผู้ปกครองที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้านโภชนาการโดยการจัดอบรมให้ความรู้ แก่ครู และผู้ปกครองที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง = 7,200  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 170 คน ๆ ละ 25 บาท
    จำนวน 2 มื้อ =  8,500  บาท
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 170 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ = 13,600  บาท
  • ค่าป้ายไวนิล (2 ตร.ม x 3 ตร.ม x 150.-บาท/ตร.ม) = 900  บาท
  • ค่าเอกสารการอบรม จำนวน 170 ชุด ๆ ละ 50 บาท = 8,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 421,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์ที่ทุพโภชนาการ มีอาหารเช้ารับประทานอย่างเพียงพอ ส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักสมส่วนเพิ่มขึ้น
2. ผู้ปกครองนักเรียนและผู้เกี่ยวข้องที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านโภชนาการเพิ่มขึ้น


>