กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหงส์น้อยผู้ดูแลสุขภาพ ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพนักเรียนเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นในโรงเรียน เพราะการที่เด็กและเยาวชน มีสุขภาพที่ดี สมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจนั้น จะส่งผลให้การเรียนรู้และการพัฒนาการที่ดี หากในวัยเด็กได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องในอนาคตเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็นต้นแบบที่ดีแก่สมาชิกในครอบครัวและชุมชนสามารถที่จะลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพพร้อมทั้งเป็นทรัพยากรในการพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี เทศบาลเมืองคอหงส์ประกอบด้วยโรงเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง หากได้มีการจัดอบรมผู้นำนักเรียนด้านการส่งเสริมสุขภาพในระดับชั้นประถมศึกษาในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองคอหงส์ ก็จะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพ รวมทั้งการสร้างและพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข
งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ การเรียนรู้ให้กับเด็ก จึงได้จัดทำโครงการหงส์น้อยผู้ดูแลสุขภาพ ประจำปี 2564 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างผู้นำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพ

นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้อื่นเพิ่มขึ้น
90 %

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในด้านส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์แก่ตนเอง เพื่อนนักเรียน ครอบครัว และตัวอย่างชุมชน

นักเรียนสามารถตรวจร่างกาย 10 ท่าเบื้องต้นและประเมินความผิดปกติได้ 100 %

0.00
3 เพื่อการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่นักเรียน

นักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการตรวจร่างกาย 2 ครั้ง/ปี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมผู้นำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมผู้นำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 80 บาท x 3 มื้อ = 12,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25บาท x 6 มื้อ = 7,500 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง x 3 วัน x 600 บาท = 9,000 บาท (ดำเนินกิจกรรมในช่วงเวลาเรียน)
  • ค่าป้ายไวนิลขนาด 1 x 2 x 150 บาท = 300 บาท
  • ชุดอุปกรณ์การปฐมพยาบาลจำนวน 2 ชุด x 2,000 บาท = 4,000 บาท (ยาพาราเซตามอล,เบตาดีน,แอลกอฮอล์,ยาCPM,ชุดทำแผล)
  • ค่าอุปกรณ์การอบรม ได้แก่ ไฟฉาย ปรอทวัดไข้ สมุด ปากกา สายวัด ชุดละ 400 บาท x 40 คน = 16,000 บาท
  • ค่าใบประกาศ 20 บาท x 40 คน = 800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้และทักษะในด้านการส่งเสริมสุขภาพ
2. นักเรียนสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง เพื่อนนักเรียนและตัวอย่างที่ดีแก่ชุมชนได้
3. เป็นผู้นำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน


>