กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนร่วมใจส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัย (RDU) โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัย (RDU) โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา

ตำบลตันหยงจึงงา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

30.00
2 ร้อยละการใช้ยาปฎิชีวนะในโรคติดเชื้อที่ระบบการหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลันลดลงร้อยละ 20

 

4.52
3 ร้อยละของร้านค้า ร้านชำ ที่มีการนำยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ มาขายในชุมชน

 

20.00

ภาวะโลกไร้พรมแดนในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในและนอกประเทศ
สามารถเข้าถึงยังผู้บริโภคในทุกระดับได้อย่างง่าย ทั้งชุมชนเมืองไปจนกระทั่งเขตชนบท
การสื่อสารมวลชนเข้ามามีบทบาทอย่างมากในกระบวนการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
จะยิ่งส่งเสริมการบริโภคในสังคมอย่างมาก ทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการที่จะบริโภค
เกินกว่าความต้องการที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหารหรือยาอย่างฟุ่มเฟือย
ทำให้มูลค่าการใช้ยาของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น จากการดำเนินงาน คบส.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงาปี 2563 พบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาดังนี้
1. การใช้ยากลุ่ม NSAID ร่วมกับยากลุ่มแก้ปวด ลดไข้
2. มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกต้อง เช่น ในโรคทางเดินหายใจที่ไม่มีอาการแสดง
ของการติดเชื้อเช่น ไข้หวัด ,อาการถ่ายเหลวที่ไม่มีการติดเชื้อ ,ใช้ยาปฏิชีวนะไม่ครบ
ตามแผนการรักษาเป็นต้น
3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการใช้ยาหรืออาหารเสริมแทนยาแผนปัจจุบัน
เนื่องจากมีความเชื่อว่ากินยาแผนปัจจุบันเยอะๆจะทำให้เป็นโรคไต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว
จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัย (RDU)
และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
โดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งครอบคลุมประเด็น
การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุดและการใช้ยาสเตียรอยด์ โดยไม่จำเป็น เพื่อให้คนในชุมชน
มีการพัฒนาการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป
ดังสโลแกนงาน คบส. “ผู้บริโภคยุคใหม่ รู้ซื้อ รู้ใช้ รู้ระวังภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

30.00 10.00
2 เพื่อให้คนในตำบลตันหยงจึงงา มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย ครอบคลุมทั้งยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาเสตียรอยด์ อย่างสมเหตุและสมผล

ร้อยละการใช้ยาปฎิชีวนะในโรคติดเชื้อที่ระบบการหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลันลดลง

4.52 0.00
3 เพื่อให้คนในตำบลตันหยงจึงงา ร่วมกันเฝ้าระวัง ตรวจสอบแหล่งขายยาในชุมชน เช่น ร้านค้า ร้านชำ ร้านขายยา มิให้มีการลักลอบขายยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์

ร้อยละของร้านค้า ร้านชำ ที่มีการนำยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ มาขายในชุมชน

20.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านค้า 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารและยาในชุมชน และกำหนดข้อตกลงในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารและยาในชุมชน และกำหนดข้อตกลงในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเชื่อมโยงร้านชำคุณภาพ
รวมถึงการส่งเสริมการ ใช้ยาอย่างสมเหตุผลแก่ผู้ประกอบการร้านชำ, อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ตัวแทนผู้ป่วยโรค
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1 x 2 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 4 แผ่น เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้คนในตำบลตันหยงจึงงา มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย
ครอบคลุมทั้งยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาเสตียรอยด์ อย่างสมเหตุและสมผล
เกิดข้อตกลงในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8700.00

กิจกรรมที่ 2 การปรับระบบ กลไก 1.การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเรื่องการจัดการอาหารในชุมชน 2.การพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร 3.การจัดตั้งชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร

ชื่อกิจกรรม
การปรับระบบ กลไก 1.การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเรื่องการจัดการอาหารในชุมชน 2.การพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร 3.การจัดตั้งชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ลงพื้นที่สำรวจ เฝ้าระวัง การขายยาอันตรายในร้านชำทั้งหมดในชุมชน โดยเครือข่ายในชุมชนพร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับ RDU
  2. สุ่มเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างน้อย 10 ราย เพื่อค้นหาติดตามการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัย

- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดระบบการเฝ้าระวังเชิงรุกเกี่ยวกับการใช้ยาและผลลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการตรวจ เฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนทั้งจากร้านชำและบ้านผู้ป่วย
พร้อมประเมินความเสี่ยงภาพรวมของตำบล
1. พัฒนาแกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
2. การทำแผนชุมชน การทำแผนท้องถิ่น การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชน
3. สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อการมีและเข้าถึงอาหารและยา
ทำให้มีอาหารปลอดภัยบริโภค และบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัย
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ชุมชนพึ่งตนเองได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คนในตำบลตันหยงจึงงา มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย
ครอบคลุมทั้ง ยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาเสตียรอยด์ อย่างสมเหตุและสมผลเพิ่มขึ้น
2. คนในตำบลตันหยงจึงงา ร่วมกันเฝ้าระวัง ตรวจสอบแหล่งขายยาในชุมชน
เช่น ร้านค้า ร้านชำ ร้านขายยา มิให้มีการลักลอบขายยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์
3. ผู้ประกอบการร้านชำและประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภค
4. ร้านชำในตำบลมีคุณภาพปลอดยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตราย


>