กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจิตอาสานวดแผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สนับสนุนให้ผู้มีจิตอาสาในตำบลมีการใช้ยาสมุนไพรในหน่วยบริการร่วมกับการให้บริการแพทย์แผนไทยเช่น บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร โดยบุคลากรแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและเป็นทางเลือกแก่ประชาชนในพื้นที่

 

70.00

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายนำการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกผสมผสานเข้าสู่ระบบของชุมชนเพื่อให้บริการเชิงรุกแก่ประชาชนในชุมชนในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่นกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มหญิงหลังคลอด กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนื้อเรื้อรังในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ยะหา จึงได้มีแนวทางสนับสนุนให้ผู้มีจิตอาสาในตำบลมีการใช้ยาสมุนไพรในหน่วยบริการร่วมกับการให้บริการแพทย์แผนไทยเช่น บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร โดยบุคลากรแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและเป็นทางเลือกแก่ประชาชนในพื้นที่
ในการนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ยะหา ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการจิตอาสานวดแผนไทย ขึ้นเพื่อให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายต่างในชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันจะส่งผลดีให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่เข็งแรงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพภายในครอบครัว

ร้อยละประชาชนในพื้นที่ตำบลยะหา ได้ใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพภายในครอบครัว

70.00 1.00
2 2. เพื่ออบรมให้ความรู้และเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ

ร้อยละเยาวชนและประชาชนตำบลยะหามีความรู้ทักษะเกี่ยวกับการนวดเพื่อสุขภาพ

70.00 1.00
3 3. เพื่อเสริมสร้างอาชีพสำหรับผู้ว่างงาน และสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว

เยาวชนและประชาชนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว

70.00 1.00

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายนำการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกผสมผสานเข้าสู่ระบบของชุมชนเพื่อให้บริการเชิงรุกแก่ประชาชนในชุมชนในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่นกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มหญิงหลังคลอด กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนื้อเรื้อรังในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ยะหา จึงได้มีแนวทางสนับสนุนให้ผู้มีจิตอาสาในตำบลมีการใช้ยาสมุนไพรในหน่วยบริการร่วมกับการให้บริการแพทย์แผนไทยเช่น บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร โดยบุคลากรแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและเป็นทางเลือกแก่ประชาชนในพื้นที่
ในการนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ยะหา ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการจิตอาสานวดแผนไทย ขึ้นเพื่อให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายต่างในชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันจะส่งผลดีให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่เข็งแรงต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการนวดแผนไทยเบื้องต้นและให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการทำสมุนไพรลูกประคบให้ความรู้และฝึกปฏิบัติยาหม่องจากสมุนไพรและสาธิตการนวดบำบัดอาการปวดด้วยแพทย์แผนไทยผู้สูงอายุและการทำลูกประคบ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการนวดแผนไทยเบื้องต้นและให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการทำสมุนไพรลูกประคบให้ความรู้และฝึกปฏิบัติยาหม่องจากสมุนไพรและสาธิตการนวดบำบัดอาการปวดด้วยแพทย์แผนไทยผู้สูงอายุและการทำลูกประคบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการฯ / ประชุมและวางแผนการดำเนินงาน
  3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ประสัมพันธ์โครงการ
  5. การดำเนินโครงการ 5.1 กิจกรรมการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการนวดแผนไทยเบื้องต้น 5.2 กิจกรรมการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการทำสมุนไพรลูกประคบ 5.3 กิจกรรมการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติยาหม่องจากสมุนไพร 5.4 กิจกรรมสาธิตการนวดบำบัดอาการปวดด้วยแพทย์แผนไทยผู้สูงอายุและการทำลูกประคบ 5.5 จัดนิทรรศการทางวิชาการในหัวข้อ “การนวดบำบัดอาการปวดด้วยแพทย์แผนไทย” 5.6 กิจกรรมแจกแผ่นผับ การนวดบำบัดอาการปวดด้วยแพทย์แผนไทยแก่ผู้ให้กับผู้เข้าร่วมอบรม
    5.7 กิจกรรมตอบปัญหาข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมอบรม
    5.8 สรุปและประเมินผลการจัดโครงการ

งบประมาณในการจัดโครงการ จำนวน 31,180 บาท รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน1 ผืน ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน800 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชม.ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท 5. เอกสารการอบรมพร้อมวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน3,500บาท รายละเอียดดังนี้ 5.1สมุด 70 เล่มๆ ละ 18 บาทเป็นเงิน1,260 บาท 5.2ปากกา 70 ด้ามๆ ละ 7 บาท เป็นเงิน 490 บาท 5.3เอกสารการอบรม 70ชุด ๆ 25 บาทเป็นเงิน1,750 บาท 6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเงิน16,280 บาท รายละเอียดดังนี้ 6.1 อบรมการทำลูกประคบ ประกอบด้วย 1. ไพล จำนวน 10กิโลกรัม ๆ ละ 40บาทเป็นเงิน 400 บาท 2. ขมิ้น จำนวน 10กิโลกรัม ๆ ละ38 บาทเป็นเงิน 380 บาท 3. ตะไคร้ จำนวน 150 ต้น ต้น ๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 150 บาท 4. ใบมะขามจำนวน 5 กิโลกรัม ๆละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท 5. ใบมะกรูด จำนวน 4 กิโลกรัม ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 100 บาท 6. ลูกมะกรูดจำนวน 50 ลูก ๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 100 บาท 7. พิมเสนจำนวน 1 กิโลกรัม ๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท 8. เกลือ(ผง)จำนวน 2 ถุง ๆ ละ25 บาท เป็นเงิน50 บาท 9. ผ้าด้ายดิบจำนวน 25 หลา ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 6,250 บาท 10. เชือกด้ายดิบจำนวน 2 ม้วน ๆ ละ 250 บาทเป็นเงิน500 บาท 11. การะบูรจำนวน1กิโลกรัม ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน450 บาท 6.2 อบรมการทำยาหม่อง ประกอบด้วย 1. พิมเสนจำนวน 1 กิโลกรัม ๆ ละ 750 บาทเป็นเงิน750บาท 2. เมลทอลจำนวน 1 กิโลกรัม ๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน200บาท 3. การบูร จำนวน 1 กิโลกรัม ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน450บาท 4. น้ำมันระกำจำนวน6ขวด ๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน600บาท 5. ไขปลาวาฬจำนวน 1 กิโลกรัม ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน200บาท 6. วาสลีนจำนวน1 กิโลกรัม ๆ ละ 350 บาทเป็นเงิน350บาท 7. ยุคาลิปตัสจำนวน 1 ขวด ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน500บาท 8. ขวดแก้วใสจำนวน 200ใบ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน4,000บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 31,180 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ตำบลยะหา ได้ใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพภายในครอบครัวและสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31180.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,180.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่ตำบลยะหา ได้ใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพภายในครอบครัว
2. เยาวชนและประชาชนตำบลยะหามีความรู้ทักษะเกี่ยวกับการนวดเพื่อสุขภาพ
3. เยาวชนและประชาชนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว


>