กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการป้องกันโรคติดเชื้อในชุมชนตำบลยะหา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา

1. นางรอคาย๊ะ แก้วเกาะสะบ้า
2.นางคอรีเยาะ ยามา
3. นางฮาสเม๊าะ จินตรา
4. นางเราะนา ยูโซะ
5. นางสาวยาวาเฮเจะลอ

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อเป็นโรคที่จะต้องมีการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไม่ให้มีการแพร่กระจาย โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น จากตัวเชื้อโรคเองหรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่า โรคติดเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น จึงจะต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน ในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19 ณปัจจุบัน ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนักของประชาชนทั่วโลกในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยเราด้วย ซึ่งพบการระบาดในหลายประเทศ ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่งผลเศรษฐกิจ สังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง และยังไม่สามารถควบคุมได้
การป้องกันโรคติดเชื้อในชุมชน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีโรคระบาดหรือโรคติดต่อจะทำให้กระทบกับระบบความเป็นอยู่ชุมชน การป้องกันก่อนการเกิดโรคเป็นสิ่งที่ดีเป็นการป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคเป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งโรคที่จะต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด 19 ในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อในชุมชน

มีการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อในชุมชน

0.00
2 2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ การควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อในชุมชน

มีการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อในชุมชน

0.00
3 3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อในชุมชน

ไม่พบอัตราอุบัติการณ์การระบาลไวรัสโควิด 19

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดอบรมให้ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อในชุมชน จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
1. จัดอบรมให้ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อในชุมชน จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียม 1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ2. ประชุมปรึกษาหารือผู้บริหาร สมาชิก ผู้เกี่ยวข้อง 3. ประสานกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง4. จัดทำเอกสารประกอบการอบรม ขั้นดำเนินการ กิจกรรมโครงการ 1. การให้ความรู้ ความเข้าใจ อุบัติการณ์การระบาดไวรัสโควิด 19 2. การส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีให้กับอสม.และผู้นำชุมชน 3. ลงคัดกรองมัสยิดในชุมชนในเขตรับผิดชอบ4. สรุปและประเมินผลโครงการ

รายละเอียดงบประมาณ 1. จัดอบรมให้ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อในชุมชน จำนวน 100 คน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ25 บาทเป็นเงิน5,000 บาท -ค่าอาหารเที่ยง 100 คนๆละ 1 มื้อๆ50 บาท เป็นเงิน5,000 บาท -ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆละ 600 บาทเป็นเงิน3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดความเสี่ยงการระบาดของโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน
2. เครือข่ายชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อในชุมชน


>